Thailand English
 
Thailand English

 

 

เคล็ดลับการถ่าย silhouette

 

การถ่ายภาพ silhouette หรือวัตถุเงาทึบคือตัวช่วยยอดเยี่ยม ที่ช่วยเพิ่มความสร้างสรรค์ให้ภาพถ่าย ซึ่งหากรู้หลักการ ก็ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่หาตัวแบบที่เหมาะสม รู้หลักการตั้งค่ากล้องและการถ่ายภาพ เท่านี้ภาพของคุณก็จะได้ความรู้สึกหม่น ๆ แต่สุดเก๋ ว่าแล้วก็ไปอ่านทริคง่าย ๆ ของการถ่ายภาพ silhouette กันเลย


ช่วงเวลาถ่ายภาพ

 

Silouhette

 

ในแต่ละวันมีสองเวลาที่สามารถถ่าย silhouette หรือภาพถ่ายเงาทึบได้โดยให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง นั่นคือเช้าตรู่กับตอนเย็น ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ต่ำบนท้องฟ้า

 

เลือกตำแหน่งดี ๆ

 

Silouhette

 

ตำแหน่งของตัวแบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ อาคาร รถยนต์หรืออื่นๆ ควรวางไว้ข้างหน้าแหล่งกำเนิดแสง และต้องวัดแสงไปที่พื้นที่ที่สว่างน้อยที่สุดในภาพ ซึ่งอาจเป็นฉากหลัง แทนที่จะวัดแสงที่ตัวแบบ

และช่างภาพก็ไม่จำเป็นต้องหามุมที่ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังตัวแบบตรง ๆแค่ให้ดวงอาทิตย์อยู่ข้างหน้าคุณข้างหลังตัวแบบก็พอ !!

 

เลือกตัวแบบ

 

Silouhette

 

ใช่ว่าวัตถุทุกประเภทจะเป็นตัวแบบที่ดีได้ในการถ่ายภาพ silhouette หากอยากได้ภาพถ่ายที่กระแทกสายตา จะต้องเลือกวัตถุที่มีรูปร่างโดดเด่น และแตกต่างชัดเจน ซึ่งควรเป็นรูปร่างที่จำง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดของผู้ชมภาพว่าตัวแบบในภาพคือสิ่งใดกันแน่ เพราะต้องไม่ลืมว่า silouette นั้นไร้สีสัน โทนสีหรือ texture ปรากฎให้เห็นชัดเจน ดังนั้นก่อนถ่ายต้องมั่นใจว่าเลือกตัวแบบเจ๋งๆ แล้ว

 

การตั้งค่ากล้อง

 

Silouhette

 

อย่างแรกเลยให้เปลี่ยนไปใช้โหมด M (Manual)  เพื่อตั้งค่ากล้องเอง เลือก ISO ต่ำๆ แค่ 100 - 200 ซึ่งช่วยลด noise ในภาพถ่าย ส่วนค่ารูรับแสงใช้ค่ากลางๆ เช่น f8 ที่ให้ภาพชัดลึก และช่วยลดความคลาดเคลื่อนของสีเมื่อเล็งกล้องไปที่ดวงอาทิตย์ และตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ไว้ที่ 1/125 วินาที    

 

ส่วนแฟลชคือสิ่งหนึ่งที่สามารถทำลายภาพถ่าย silhouette ของคุณ หากอยู่ในโหมด auto กล้องจะยิงแฟลชอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ภาพสว่างขึ้นทันทีและไม่ใช่ภาพ silhouette ไปเลย ดังนั้นเมื่อจะถ่ายภาพ ให้แน่ใจว่าปิดแฟลชทุกครั้ง หรือเปลี่ยนไปใช้โหมด P (program), A (aperture priority) . S (shutter priority) และ  M (Manual)

 

การวัดแสง

Silouhette

 

การวัดแสงถ่ายภาพ silhouette ควรวัดแสงท้องฟ้าที่สว่างที่สุดในเฟรมภาพ ไม่ใช่ตัวแบบนะ ไม่ควรวัดแสงที่ดวงอาทิตย์ตรง ๆ เพราะดวงอาทิตย์สว่างจ้าเกินไป ให้จัดองค์ประกอบภาพก่อน กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงและกลับไปยังฉากที่จัดองค์ประกอบไว้แล้ว และกดถ่ายภาพ ส่วนโหมดวัดแสงในกล้อง ให้เปลี่ยนไปใช้โหมดวัดแสงเฉลี่ยกลางภาพและเฉพาะจุด แต่อย่าลืมล็อกจุดโฟกัสที่ตัวแบบ ไม่ใช่ฉากหลัง  

 

ถ้าปรับการตั้งค่ารูรับแสง สปีดชัตเตอร์และ ISO เรียบร้อยแล้ว แต่ตัวแบบยังมืดไม่พอ ให้ลองใช้ exposure compensation ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยให้แสงเข้ามาในกล้องได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการตั้งค่า โดยปกติเมื่อต้องการให้ได้ภาพ silhouette ก็ให้หมุน dial ไปที่ -1 ถึึง -3 ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในตอนนั้น  

 

การจัดองค์ประกอบ

 

Silouhette

 

การจัดองค์ประกอบวัตถุเงาทึบนั้นอาจมีความซับซ้อน แต่มีจุดที่ควรระวังนั่นคือการเลือกฉากหลัง ควรเลือกฉากหลังที่สว่างและโล่งๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมภาพ เช่น เส้นขอบฟ้าที่มีดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกก็ได้

 

เมื่อวางตัวแบบไว้ข้างหน้าแหล่งกำเนิดแสง สามารถจัดองค์ประกอบได้สองแบบ คือวางตัวแบบบล็อคแหล่งกำเนิดแสง หรือให้แหล่งกำเนิดแสง เช่นดวงอาทิตย์ อยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในฉากหลัง แต่อย่าลืมว่าแหล่งกำเนิดแสงต้องอยู่ข้างหลังตัวแบบนะ !!



Tip :

 

Silouhette

 

นี่คือไอเดียตัวแบบง่ายๆ เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ silhouette

  • นกที่กำลังบิน

  • สถาปัตยกรรม เช่น สะพาน หรือตึกที่มีรูปร่างน่าสนใจ

  • วัตถุทั่วไป เช่น ต้นไม้

  • คน

 

Silouhette

 

ที่มา

contrastly.com



Back to top