จากบทความก่อนหน้า สภาพแสงและสภาพอากาศแบบต่างๆ ในการถ่ายภาพ EP 1 เราได้รู้จักสภาพแสงและสภาพอากาศที่มีผลต่อการถ่ายภาพไปบ้างแล้ว ในบทความนี้จะพูดถึงสภาพแสงและสภาพอากาศ
อื่น ๆ ที่มีผลต่อการถ่ายภาพกันต่อ
1. Golden Hour ช่วงเย็น
อย่างที่บอกไปแล้วว่า golden hour มีสองช่วงเวลา นั่นคือหลังดวงอาทิตย์ขึ้นและก่อนดวงอาทิตย์ตก ซึ่งก็เป็นเวลาที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนที่ชอบออกไปถ่ายภาพข้างนอก เช่นเดียวกับ golden hour ช่วงเช้า จะช่วยให้มีสีทองเรืองรองไปทั่วทั้งภาพ แต่อย่าลืมตรวจสอบเวลาและฤดูกาลของสถานที่ที่จะไปถ่ายภาพ ไม่เช่นนั้นอาจพลาดโอกาสได้ภาพถ่าย golden hour สวย ๆ โดยปกติฤดูร้อนจะมีช่วง golden hour ยาวนานกว่าฤดูอื่น ตรงข้ามกับฤดูหนาว ซึ่งจะมาเพียงครู่เดียว
Notre Dame Cathedral ถ่ายช่วง golden hour ในช่วงเย็น จึงถูกอาบไล้ไปด้วยแสงสีทอง
ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการอยู่ถูกที่ถูกเวลา บน Montparnasse Tower ปารีส เมื่อเห็นลำแสงสีทองเป็นแฉกๆ เหนือตัวเมืองที่อยู่ด้านนอกตึก ซึ่งจะปรากฏเพียงครู่เดียว จึงควรรีบถ่ายภาพเก็บไว้
นอกจากนี้เวลาไม่กี่นาทีก่อนดวงอาทิตย์จะหายลับขอบฟ้าก็เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ในการถ่ายภาพแสนวิเศษ ซึ่งแสงอาทิตย์จะเป็นแฉก ๆ ภาพด้านบนถ่ายเรือประมง ที่ Kasban ใน Hammamet Tunisia ใช้
ฟิลเตอร์ ND 10 stop ทำให้ปรับสปีดชัตเตอร์ที่ 160 วินาที สร้างเอฟเฟ็กต์ motion blur กับก้อนเมฆที่กำลังเคลื่อนที่
2. ตะวันตกดิน
ช่วงตะวันตกดินคือช่วงหลังดวงอาทิตย์ตกเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีสีสันหลงเหลืออยู่บนท้องฟ้า
โดยเฉพาะขอบฟ้าซึ่งดวงอาทิตย์เพิ่งตก ช่วงนี้มีแสงสีส้มที่ดึงดูดความสนใจ และมีสีสันที่ชวนตะลึงบนท้องฟ้า
ภาพด้านบนถ่าย Dublin Docklands หลังดวงอาทิตย์ตก ท้องฟ้าเต็มไปด้วยโทนสีส้มที่มีdramatic ส่วน สะพาน Samuel Beckett รูปร่างจะคล้ายพิณ
นอกจากนี้ช่วงดวงอาทิตย์ตกก็เป็นเวลาที่เพอร์เฟ็กต์สำหรับถ่าย Silhouette หรือวัตถุย้อนแสง (อ่านบทความเพิ่มเติม : 8 เทคนิคการถ่ายภาพ Silhouette) ภาพด้านบนถ่ายน้ำตก ที่ Place de la Concorde และมี Eiffel Tower แบบย้อนแสงที่ดูเหมือนใกล้มากกว่าความเป็นจริง เพราะใช้การซูมบีบ perspective ทำให้ระยะทางระหว่างวัตถุด้านหลังใกล้กับฉากหน้า
ภาพด้านบนถ่ายที่พิพิธภัณฑ์ Louvre แบบ silhouette ดวงอาทิตย์เพิ่งลับหายไปหลังพิพิธภัณฑ์ ซึ่งแสงไฟในเมืองก็เริ่มเปิด ก่อนค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นช่วง blue hour
3. blue hour ช่วงเย็น
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าช่วงเวลา blue hour เป็นช่วงที่ดีในการถ่ายภาพ cityscape เช่นเดียวกับ blue hour ช่วงเช้าอย่างที่ได้กล่าวไปว่ามี ambient light มากพอให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ และท้องฟ้าก็มีสีน้ำเงินเข้ม
ภาพด้านบน ถ่ายช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ Dublin มี contrast ระหว่างตึกที่ประดับไฟสีแดงกับท้องฟ้าที่มีโทนสีน้ำเงิน
ภาพด้านบน ถ่ายที่ Venice ช่วงแสงน้อยในตอน blue hour ซึ่งสามารถใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ได้ ทำให้เรือ gondola ที่กระทบขึ้นลงกับน้ำเป็นเอกเฟ็กต์ motion blur
ภาพด้านบน ถ่ายที่ Ponte Romana ที่ Tavira ประเทศโปรตุเกส ในเดือนมกราคมที่มีอุณหภูมิต่ำ ต้องถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก blue hour ในฤดูหนาวนั้นมีระยะเวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้น และดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกอย่างรวดเร็ว
มาดูความแตกต่างระหว่างถ่ายตอนกลางคืนและ blue hour กันดีกว่า
เปรียบเทียบภาพด้านล่าง ถ่ายด้วยโลเกชั่นเดียวกันที่ Burg Square ที่ Bruges ภาพแรกถ่ายตอน
กลางคืน ส่วนภาพที่สองถ่ายช่วง blue hour ในตอนเย็น
สังเกตได้ว่าภาพนี้ขาดรายละเอียดของอาคารในบางส่วน เนื่องจากท้องฟ้ามืดและมีแสงสว่างไม่เพียงพอ แต่พื้นที่ตรงหน้าต่างสว่างจ้า
ส่วนภาพนี้มี ambient light ทำให้ง่ายต่อการวัดแสง และเก็บรายละเอียดของตึกได้มากกว่า สามารถเห็นความหลากหลายของ texture และสีสันของอาคาร
4. ตอนกลางคืน
ถึงแม้การถ่ายภาพเมืองในตอนกลางคืนจะไม่น่าสนใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเก็บกล้องเมื่อท้องฟ้ามืด เพราะมีโอกาสมากมายที่จะได้ถ่ายภาพสวย ๆ เช่นกัน (อ่านบทความเพิ่มเติม :เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน)
เมื่อเปลี่ยนภาพถ่ายตอนกลางคืนเป็นภาพถ่ายขาวดำ ท้องฟ้าตอนกลางคืนจะไม่เห็นรายละเอียด ดูตัวอย่างจากภาพแรก ถ่ายถนนแคบ ๆ ที่ Prague ซึ่งนำสายตาไปสู่หอนาฬิกาด้านหลัง จะสังเกตว่าตึกที่สว่างมีความ contrast กับท้องฟ้าสีดำ แต่อาจวัดแสงได้ลำบากหน่อย ดังนั้นเลยต้องถ่ายด้วยโหมดคร่อมแสงถึง 3 ครั้ง
ภาพด้านบน ถ่ายที่ถนนสายแคบ ๆ ของ Tavira ประเทศโปรตุเกส ซึ่งนำไปสู่ Igreja de Santa Maria do Castelo เป็นการถ่ายในช่วงเดือนมกราคม ซึ่งกลางคืนมาเยือนอย่างรวดเร็ว
ใครอยากถ่าย street มากกว่า Landscape สามารถจัดองค์ประกอบโดยเห็นท้องฟ้านิดเดียว เพื่อเลี่ยงปัญหาการวัดแสงที่ทำได้ยาก ภาพด้านบน ถ่ายที่ถนน Grafton ใน Dublin ช่วงเทศกาลคริสต์มาส
การไม่เอาท้องฟ้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งในภาพ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการถ่ายภาพตอนกลางคืน การถ่ายภาพด้วยระดับถนน อย่างเช่น ภาพด้านบนถ่ายวงออร์เคสต้าที่ Ristorante Quadri บน St Marks Square ที่ Venice
5. ฝนตก
โดยปกติ เมื่อเจอฝนตกก็จะรีบเก็บกล้อง เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ แต่สายฝนก็ทำให้เรามีโอกาสได้ภาพถ่ายที่น่าสนใจ ดูตัวอย่างจากภาพด้านล่างกันเลย
ภาพด้านบน ถ่ายเป็น sepia ที่ Arnhem ในประเทศเนเธอร์แลนด์ จะใช้สปีดชัตเตอร์ช้า เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหวในภาพก็ได้
การถ่ายภาพฝนตกตอนเย็น ๆ ก็มีโอกาสที่จะได้ภาพถ่ายวัตถุเงาสะท้อน Reflection ระหว่างตึกที่มีแสงไฟกับถนนที่แอ่งน้ำขัง การถ่ายภาพเมืองในเวลา blue hour ตอนฝนตกก็ให้ผลลัพธ์ที่ดี ตัวอย่างจากภาพด้านบน รถบัสสีแดง contrast กับโทนสีมืด
ภาพถ่ายที่ St. Mark’s Basilica ซึ่งมีแอ่งน้ำอยู่ด้านหน้า ทำให้สามารถถ่ายวัตถุที่สะท้อนภาพได้
Tip
สภาพแสงก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อภาพถ่าย หากถ่ายภาพในโลเกชั่นเดียวกันแต่เวลาแตกต่างกัน ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไร
กลางวัน :
ภาพนี้ถ่ายช่วงเวลากลางวัน ซึ่งแสงจะแข็งและดูไม่น่าสนใจ
กลางวัน (ภาพถ่ายขาวดำ)
ผู้เขียนเปลี่ยนภาพแรกเป็นภาพถ่ายขาวดำ ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยมีโทนสีที่มีแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากแสงช่วงเที่ยงวันช่วยสร้าง drama ได้
กลางวัน (ใช้สปีดชัตเตอร์ช้า)
การใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ กับก้อนเมฆที่กระจัดกระจาย โดยใช้ฟิลเตอร์ nd 10 stop ใช้สปีดชัตเตอร์
35 วินาที เลยได้ก้อนเมฆแบบเบลอ ๆ และสายน้ำที่ดูนิ่งสนิท ซึ่งการใช้สปีดชัตเตอร์ช้าๆ ก็เป็นทางเลือกที่จะเพิ่มความสวยงามเมื่อถ่ายในเวลากลางวัน
ช่วงเริ่มโพล้เพล้
ท้องฟ้าในภาพจะถูกแต่งแต้มไปด้วยโทนสีส้มและสีชมพู เนื่องจากดวงอาทิตย์ตกแล้ว ซึ่งจะมีความน่าสนใจมากกว่าการถ่ายภาพในเวลากลางวัน แสงในช่วงนี้จะปรากฎเพียงไม่กี่นาทีและต้องอดทนรอคอย
โพล้เพล้
หากรอหลังถ่ายภาพด้านบน ไม่กี่วินาทีต่อมาฉากจะเปลี่ยนแปลง ท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยโทนสีม่วงสวยงาม และเพิ่มความโดดเด่นด้วยแสงไฟที่สะท้อนกับตึก
Blue hour
ประมาณ 15 นาทีต่อมา blue hour จะปรากฏขึ้น ส่วนมากท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยสีน้ำเงินเข้ม และมีโทนสีม่วงหลงเหลืออยู๋
หมอกช่วงเช้า
ในเช้าวันที่เต็มไปด้วยหมอก การเปลี่ยนภาพถ่ายเป็นภาพขาวดำก็ได้ผลดี ช่วยเพิ่มอารมณ์หม่นเข้าไป และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบถ่ายภาพสไตล์ minimal
ที่มา