Thailand English
 
Thailand English

 

 

เคล็ดลับการถ่าย High speed Photography

 

 

High-speed คือการถ่ายภาพวินาทีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ หรือจังหวะที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น ลูกโป่งแตก หรือหยดน้ำกระเซ็น ซึ่งตาเปล่าของเราจับภาพไม่ทัน การถ่ายแนวนี้สามารถทำได้โดยการใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ แต่บางครั้งความเร็วของสปีดชัตเตอร์สูงสุดอาจไม่เพียงพอ ซึ่งในบทความนี้มีทริคง่าย ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องใช้สปีดชัตเตอร์เร็วได้

 

 

 

เลือกกล้องหรือเลนส์แบบไหน ?

 

กล้อง Mirrorless หรือกล้องที่มีโหมด manual สามารถใช้ถ่ายภาพ High - speed ได้ ส่วนทางยาวโฟกัสของเลนส์ควรเลือกใช้ช่วงเทเลโฟโต้เพื่อให้มีระยะห่างมากพอระหว่างกล้องกับตัวแบบ อุปกรณ์ก็จะปลอดภัยจากหยดน้ำที่อาจกระเซ็นมาโดนได้

 

Ramakant Sharda ผู้เขียนใช้เลนส์ Macro 100 mm เพื่อถ่ายหยดน้ำในระยะใกล้ กับเลนส์ 24-70 mm ในการถ่ายลูกโป่ง และพบว่าเลนส์ Macro 100mm เป็นเลนส์ที่ดีมาก ให้อัตราส่วนภาพ 1:1 ทำให้ตัวแบบเต็มเฟรมภาพ โดยยืนอยู่ห่างจากตัวแบบได้

 

 

 

อุปกรณ์อื่น ๆ

ในการถ่ายภาพแนวนี้ควรมีแฟลชหลาย ๆตัว และขาตั้งกล้อง ต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทด้วย เพราะต้องถ่ายภาพต่อเนื่องทีละหลายๆ ภาพโดยไม่ขยับกล้อง

 

 


อดทน

 

สิ่งสำคัญในการถ่ายภาพ high- speed คือการฝึกฝนและต้องมีความอดทนสูง เพราะจะต้องถ่ายภาพจำนวนมาก โดยที่อาจไม่ได้ภาพดี ๆ เลย ผู้เขียนใช้เวลาถ่ายภาพหยดน้ำด้านล่าง เกือบ 3 เดือน และถ่ายไปกว่า 3,000 ภาพทีเดียว !

 

 

 

 

 

การตั้งค่ากล้อง

 

ภาพด้านล่างใช้สปีดชัตเตอร์แค่ 1/10 วินาที ซึ่งต่างจากที่เขียนไว้ด้านบนว่าต้องตั้งค่า
สปีดชัตเตอร์ถึง 1/20,000 วินาที เพื่อให้วัตถุที่มีการเคลื่อนที่นิ่งสนิท แต่มีทริคง่าย ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องใช้
สปีดชัตเตอร์มาก ๆ

โดยผู้เขียนถ่ายภาพในห้องมืด ตั้งค่ารูรับแสงแคบ หมุนไปที่โหมด Bulb เมื่อเปิดชัตเตอร์ก็เริ่มยิงแฟลช และใช้สปีดชัตเตอร์แค่ 1/ 10 วินาที หรือ 1/ 250 วินาที

 

นี่คือการตั้งค่ากล้องที่ผู้เขียนใช้

  • โหมด Bulb 
  • f11 - f16 
  • ISO 100 - 400 
  • Manual focus 
  • ใช้กำลังแฟลชน้อย ๆ

 

ทำไมต้องใช้กำลังแฟลชน้อย ๆ ? เพราะระยะทางที่แสงส่องถึงวัตถุจะสั้นลง และจะสว่างแค่ตัวแบบ โดยไม่ทำให้วัตถุอย่างอื่นในห้องสว่างไปด้วย

 

 

 

 

ถ่ายต่อเนื่อง

ควรตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องและใช้สายลั่นชัตเตอร์ ตั้งค่า ISO ต่ำ ๆ ประมาณ 100 ก่อน
หากกำลังแฟลชไม่พอ ก็ค่อย ๆ เพิ่มค่า ISO ส่วนการตั้งค่า f ให้ลองที่ f11- f16 และใช้การโฟกัสแบบ manual นอกจากนี้ควรให้เพื่อนช่วยกดสายลั่นชัตเตอร์ เมื่อแฟลชยิง ถึงค่อยเลิกกด

ส่วนการหยดน้ำ หรือจิ้มลูกโป่ง ต้องทำด้วยมือข้างเดียว และยิงแฟลชโดยการใช้รีโมทที่มืออีกข้าง โดยต้องกะเวลาให้พอดีกัน ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนหลายครั้ง เพื่อให้กะจังหวะแม่นยำ

 

 

 

ข้อควรจำ

 

ถ่ายในห้องมืด : ควรถ่ายในห้องมืด ตั้งค่าโหมด Bulb และใช้สปีดชัตเตอร์ 1/10 หรือ 1/5 วินาที เนื่องจากแสงสว่างในห้องจะมีผลต่อการถ่ายภาพ ในห้องจึงควรมีแค่แสงน้อย ๆ เท่านั้น เพื่อให้สังเกตเห็นของในห้อง

รูรับแสงแคบ : ควรถ่ายภาพที่ค่า f11 - f16 ภาพจะชัดลึกและทุกอย่างจะอยู่ในโฟกัส นอกจากนี้เมื่อใช้รูรับแสงแคบที่แสงเข้าได้น้อย แสงที่อยู่รอบ ๆ ก็จะไม่กระทบต่อการถ่าย

 

 

 

 

โฟกัสแบบ Manual : การตั้งค่าโฟกัสแบบ Manual คือสิ่งจำเป็น เมื่อกล้องไม่สามารถโฟกัสในความมืดได้ ซึ่งอาจทำให้พลาดโมเม้นต์สำคัญ ๆ

แฟลช : ใช้กำลังแฟลชต่ำ ๆ และโหมด slave ซึ่งเมื่อยิงแฟลชหลักตัวเดียว แฟลชตัวอื่น ๆ จะยิงตามโดยอัตโนมัติ

 

 

ทริคลับ ๆ

 

ผู้เขียนมีทริคลับ ๆ มาแบ่งปัน ใช้โหมด Burst ตั้งค่ากล้องไปที่ high-speed burst mode เปลี่ยนโหมดเป็น manual และใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 1/ 125 วินาที แต่จำเป็นต้องมีแฟลชหลักในตัว เพื่อให้ยิงแฟลชไปพร้อม ๆ กันได้

เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ กล้องจะเริ่มถ่ายภาพไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเลิกกดปุ่ม ซึ่งจะได้ภาพประมาณ 4-10 ภาพต่อวินาที ขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้ ส่วนอีกมือหนึ่งก็ใช้เจาะลูกโป่ง หรือปล่อยหยดน้ำลงมา

 

 

 

 

 

ที่มา digital-photography-school.com

Back to top