เมื่อเอ่ยถึงการจัดองค์ประกอบภาพ หลายคนมักนึกถึงกฎสามส่วน (Rule of Thirds) ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบที่คลาสสิค และเป็นประโยชน์ต่อช่างภาพมาก แต่ในบทความนี้มีการจัดองค์ประกอบขั้นสูงหลายอย่าง เพื่อนำไปลองใช้ในการถ่ายภาพ จะช่วยสร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้ภาพถ่ายของคุณ
1.สัดส่วนทองคำ (Fibonacci Spiral)
เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Phi, Divine Proportion หรือ Golden Mean ด้วย ที่จริงกฎนี้เกิดขึ้นก่อนปีคริสต์ศักราชเสียอีก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการออกแบบ ดังนั้นสถาปัตยกรรมมากมายในอดีตจึงสร้างโดยยึดตามสัดส่วนทองคำ และเมื่อค.ศ. 1200 Leonardo Fibonacci เห็นว่าสัดส่วนนี้ดึงดูดสายตาของเรา
ด้วยเหตุนี้ศิลปินและสถาปนิกจึงได้ออกแบบผลงานโดยยึดตามสัดส่วนที่คำนวณได้ว่า 1:1.618 เมื่อใช้สัดส่วนนี้ในการถ่ายภาพ จะช่วยสร้างองค์ประกอบที่มีความงดงามในเชิงศิลปะ สามารถใช้กฎนี้ตามแผนภาพด้านบน โดยให้วางก้นหอยไปที่จุดสนใจในภาพ ก้นหอยจะสามารถหมุนไปรอบๆ ได้ตามมุมมองในภาพที่แตกต่างกัน
2. ซ้ายไปขวา
จิตใต้สำนึกของเรามักใช้สายตามองจากซ้ายไปขวา อย่างเช่น การอ่านหนังสือ ดังนั้นจึงนำข้อนี้มาใช้ในการถ่ายภาพ หากภาพที่ต้องการถ่าย ไม่มีเส้นนำสายตาและจุดสนใจ ดูตัวอย่างจากภาพด้านบน วางจุดที่ต้องการให้โฟกัสไว้ด้านขวาของภาพ โดยผู้ชมภาพจะจะเริ่มมองไปทางด้านซ้ายก่อนเลื่อนสายตามองไปด้านขวา จึงกลายเป็นภาพถ่ายที่ดึงดูดสายตา
3. พื้นที่ว่างทางลบ (Negative Space)
การทำความเข้าใจและใช้พื้นที่ว่างทางลบ (Negative Space) ในภาพถ่าย ช่วยสร้างความแตกต่างในการจัดองค์ประกอบภาพ (ในทางที่ดี!) และทำให้วัตถุในภาพไม่รก ดูตัวอย่างจากภาพด้านบนพื้นที่ว่างทางลบคือพื้นที่สีดำรอบ ๆ ตัวแบบ ส่วนตัวแบบในที่ว่างคือ Postive Space หรือพื้นที่ว่างทางบวก หากจัดองค์ประกอบให้ถูกต้องตามสัดส่วน ก็จะช่วยให้ภาพบาลานซ์แบบเรียบง่าย
4. Geometry
ช่างภาพหลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับรูปร่างต่าง ๆ ในภาพถ่าย ควรมองหารูปร่างและจัดเป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบภาพจะช่วยปรับปรุงภาพถ่ายให้ดูดีขึ้น โดยรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมนั้นหาง่าย ยิ่งอาคารและสถานที่ในสมัยนี้มักมีรูปร่างแปลก ๆ และสีสันที่ contrast ก็ยิ่งมีโอกาสได้ภาพถ่ายที่โดดเด่นแปลกตากว่าใคร
5. Crop ภาพ
ไม่ว่าคุณจะครอพภาพจากกล้องดิจิตอล หรือทำภายหลังด้วยโปรแกรมแต่งภาพ ก็ช่วยเพิ่มความสวยงามลงในภาพได้ ปัญหาคือหลายคนไม่เต็มใจจะครอพภาพของตัวเอง ! แต่ที่จริงเป็นเรื่องที่ดี
ยกตัวอย่าง ถ่าย Portrait เต็มตัว แต่มีบางสิ่งเกินมาในภาพ จึงต้องใช้การครอพภาพ ช่วยให้องค์ประกอบในภาพดีขึ้น หรือใช้การครอพเพื่อให้วัตถุในภาพเด่นขึ้น ดังนั้นอย่าไปกลัวการครอพสิ่งที่เป็นส่วนเกินออกจากภาพ
6. มีเรื่องราว
แม้ว่าการเล่าเรื่องจะไม่ใช่การจัดองค์ประกอบใหม่ ๆ ซักเท่าไร แต่เมื่อกดชัตเตอร์ลงไปก็ควรนึกถึงอารมณ์และเรื่องราวที่อยากสื่อในภาพ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่เพิ่มลงในภาพถ่าย รวมถึงสิ่งที่อยากจะเพิ่มด้วย
ก่อนถ่ายภาพควรพิจารณาองค์ประกอบรอบ ๆ ของตัวแบบด้วยตาเปล่าก่อน และนึกว่าจะเพิ่มสิ่งใดลงไปในภาพ ถ้าแค่มองผ่านช่องมองภาพก็อาจพลาดสิ่งเล็กๆ ที่น่าสนใจ
ที่มา contrastly.com