ช่วงงานเทศกาลสำคัญ ๆ ที่มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา มักมีการจุดดอกไม้ไฟเป็นสีสันในงาน และเพื่อให้ทุกคนไม่พลาดภาพถ่ายอันสวยงามน่าประทับใจเหล่านี้ เรามีเคล็ดลับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟมาฝาก รับรองว่าถ้านำไปฝึกฝนบ่อยๆ คุณจะเป็นเจ้าของภาพถ่ายอันสุดยอดแบบมืออาชีพได้เลย
-
อุปกรณ์
เมื่อจะถ่ายดอกไม้ไฟ ควรเลือกใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมาก ๆ เพื่อจะได้เก็บภาพให้ครบ เช่น เลนส์ 70-200mm และควรใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ เพื่อจะได้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวเป็นเส้นสายที่สวยงาม จึงต้องใช้ขาตั้งกล้อง ควบคู่ไปกับการใช้รีโมทชัตเตอร์ถ่ายภาพ แต่เนื่องจากการถ่ายภาพโดยใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ จะกินแบตเตอรี่มากกว่าปกติ จึงควรพกแบตเตอรี่สำรองไปด้วย
2. ใช้ ISO ต่ำๆ
ลองตั้งค่า ISO 100 หรือ 200 เพราะหากใช้ ISO สูงๆ อาจเกิด noise ได้ ดังนั้นใช้ ISO ต่ำ ๆ เพื่อป้องกัน noise จะดีกว่า ปกติมักพบ noise ในพื้นที่ที่มีสีน้ำเงินและถ่ายภาพตอนกลางคืน นอกจากนี้การใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ถ่ายภาพก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ noise เพิ่มขึ้น
3. ไม่ใช้ Live View
ถ้ากล้องมีฟังก์ชั่น Live View จะยิ่งทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วขึ้น เพราะการแสดงผลที่หน้าจอ LCD ใช้พลังงานมาก เวลาถ่ายภาพโดยใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ จึงควรจะรักษาแบตเตอรี่ โดยใช้ช่องมองภาพถ่ายดีกว่า แต่ในการจัดองค์ประกอบควรใช้ตาเปล่ามองท้องฟ้าก่อน จะได้ไม่พลาดองค์ประกอบเล็ก ๆ
4. ค่า f
ให้ลองตั้งค่ารูรับแสง f5.6 หรือ f8 สำหรับการถ่ายดอกไม้ไฟ เนื่องจากขนาดของรูรับแสงจะควบคุมลายของดอกไม้ไฟ การหุบรูรับแสงให้เล็กลงจะทำให้ดอกไม้ไฟเป็นเส้นสายบาง ๆ แต่การเปิด
รูรับแสงกว้างขึ้น ทำให้ดอกไม้ไฟกว้างและภาพที่ได้อาจโอเวอร์หรือสว่างจ้าเกินไป ดังนั้นจึงควรใช้แค่ f8 ก็พอ
5. สปีดชัตเตอร์ระหว่าง 2-10 วินาที
ให้ลองถ่ายก่อนที่งานแสดงดอกไม้ไฟจะเริ่ม เพื่อดูว่าเมื่อท้องฟ้ามืดและสว่างจะต้องปรับค่าอย่างไรให้เหมาะสม ส่วนการถ่ายดอกไม้ไฟสวย ๆ ก็ควรคำนึงถึงการใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ เพื่อให้เห็นการเคลื่อนที่ของดอกไม้ไฟ ให้ลองใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำกว่า 30 วินาทีและปล่อยให้กล้องถ่ายภาพไปเรื่อย ๆ แต่ควรระวังไม่ใช้สปีดชัตเตอร์นานเกินไป จนดอกไม้ไฟสว่างจ้า
นอกจากนี้จะใช้โหมด Bulb กดชัตเตอร์เมื่อดอกไม้ไฟเริ่มยิง ซึ่งกล้องจะถ่ายภาพไปเรื่อย ๆ และพอดอกไม้ไฟจุดแล้วค่อยกดปิด หรือจะใช้สายลั่นชัตเตอร์ถ่ายภาพก็ได้เช่นกัน
6. ปิด Auto Focus เปลี่ยนไปใช้ Manual
เมื่อตั้งค่า Auto Focus กล้องจะพยายามโฟกัสใหม่ทุกๆ ครั้งที่มีการจัดองค์ประกอบ และโฟกัสยากหากอยู่ในที่แสงน้อย ซึ่งอาจทำให้พลาดโมเมนต์สำคัญๆ หรือได้ภาพดอกไม้ไฟเบลอ ๆ จึงควรเปลี่ยนไปใช้โหมด Manual และเลือกจุดโฟกัสเองจะดีกว่า
7. การจัดองค์ประกอบภาพ
การวางแผนถ่ายดอกไม้ไฟและไปถึงโลเกชั่นก่อนเวลาเป็นสิ่งดี เพราะงานแสดงดอกไม้ไฟสวย ๆ คนจะเยอะมาก ดังนั้นจึงต้องไปจองพื้นที่ก่อนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ให้แน่ใจว่าทั้งฉากหน้าและฉากหลังจัดองค์ประกอบดีแล้ว และไม่ติดศีรษะของผู้คนที่มาชมดอกไม้ไฟ นอกจากนี้ควรรู้ตำแหน่งของดอกไม้ไฟที่จะถูกจุดบนท้องฟ้า เพื่อจะได้จัดองค์ประกอบถูก
ระวังเส้นขอบฟ้า - สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือการจัดเฟรมภาพ เพื่อให้ได้เส้นขอบฟ้าตรง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการถ่ายภาพ นอกจากนี้หากถ่ายภาพด้วยเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมาก ๆ ก็จะเห็นฉากหลังอื่น ๆ เช่น เมือง
แนวตั้งหรือแนวนอน - การจัดองค์ประกอบทุก ๆ แนวของการถ่ายภาพ คือแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งทั้งสองแบบสามารถถ่ายกับดอกไม้ไฟได้ แต่ Darren Rowse ผู้เขียนชอบถ่ายภาพในแนวตั้ง เพราะจะเห็นการเคลื่อนไหวของดอกไม้ไฟที่ขึ้นมาตรง ๆ ได้มากกว่า แต่หากถ่ายแนวนอน จะเห็นการยิงดอกไม้ไฟหลาย ๆ ลูกควบคู่ไปกับได้ฉากหลังสวย ๆ
8. ใช้ฟิลเตอร์ ND
ถ้าท้องฟ้ายังมีแสงไม่มืด 100% จึงต้องใช้สปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้ฟิลเตอร์ ND ช่วย เพื่อจะได้ไม่ต้องปรับสปีดชัตเตอร์นาน จนทำให้ภาพสว่างจ้า และต้องให้แน่ใจว่าดอกไม้ไฟจะสวยงาม ถ้าใช้สปีดชัตเตอร์เร็วไป ดอกไม้ไฟก็จะเป็นดูสั้น ๆ จึงต้องปรับสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น
ที่มา
digital-photography-school.com/15-tips-for-successful-fireworks-photography/
digital-photography-school.com/how-to-photograph-fireworks/