Thailand English
 
Thailand English

เคล็ดลับการถ่ายภาพ Starry Night Sky

สำหรับการถ่ายภาพหมู่ดาวในท้องฟ้าตอนกลางคืนเป็นสิ่งที่หลายคนหลงใหล และต้องการจะเก็บภาพความสวยงามนั้นเอาไว้ แต่มันทำได้ยากกว่าการถ่ายภาพตอนกลางวันมาก ด้วยแสงที่น้อย ทำให้ถ่ายได้ลำบาก แต่ถ้าได้ภาพถ่ายมาย่อมโดดเด่นและสวยงามกว่าใคร ๆ แน่นอน 

 

บทความนี้เรามีเคล็ดลับมาฝากสำหรับผู้ที่สนใจการถ่ายภาพท้องฟ้าตอนกลางคืนต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายดาว ถ่ายแสงเหนือ หรือถ่ายทางช้างเผือก จะถ่ายอย่างไรและตั้งค่ากล้องแบบไหนถึงจะดี หาคำตอบได้จากบทความนี้

 

การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพตอนกลางคืน

 

เนื่องจากแสงเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายภาพ ไม่มีแสงก็ไม่เห็นรายละเอียดในภาพ จึงทำให้การถ่ายภาพตอนกลางคืนเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะแสงน้อย ลืมการใช้รูรับแสงแคบ ๆ และ ISO ต่ำ ๆ อย่างที่ใช้ในการถ่ายภาพ Landscape ตอนกลางวันไปเลย การถ่ายภาพเวลาคืนต้องใช้รูรับแสงกว้าง เพิ่มค่า ISO และใช้สปีดชัตเตอร์ที่ไม่ช้ามาก

 

แต่การตั้งค่ากล้องถ่ายภาพตอนกลางคืนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความสว่างของดวงจันทร์

ให้ลองตั้งค่ารูรับแสงกว้างเพื่อเห็นรายละเอียดของท้องฟ้าได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเลนส์ที่มีค่า

รูรับแสง f2.8 เป็นที่นิยมที่ใช้ถ่ายภาพ หรือจะลองเริ่มถ่ายโดยใช้รูรับแสง f2.8 ก็ได้เช่นกัน

 

Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

การตั้งค่า ISO และสปีดชัตเตอร์

 

การถ่ายภาพในเวลากลางคืน ควรเพิ่มค่า ISO สูง ๆ อย่างน้อย 1600 ส่วนการตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ขึ้นอยู่กับระยะเลนส์ ไม่ควรใช้นานกว่า 30 วินาที ยกเว้นต้องการถ่ายดาวเป็นเส้นสาย (star trail)

การคำนวณค่าสปีดชัตเตอร์ทำได้โดยนำ 500 ไปหารด้วยระยะเลนส์ จะรู้ว่าควรใช้สปีดชัตเตอร์ได้นานที่สุดแค่ไหน

 

Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

ถ้าใช้กล้องเซ็นเซอร์ crop ต้องหารเท่ากับระยะเลนส์ของกล้อง full-frame (ยกตัวอย่าง 20 mm ของ เซ็นเซอร์ crop = 30mm 500/30= 16.6 วินาที) นอกจากนี้เมื่อใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ  ขาตั้งกล้องคือสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันกล้องสั่นและทำให้ได้ภาพถ่ายคมชัด

 

การวางแผนถ่ายท้องฟ้าตอนกลางคืน

 

ควรเตรียมพร้อมไปถึงพื้นที่ที่ต้องการถ่ายภาพก่อนเริ่มมืด สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเช่น PhotoPillsเพื่อคำนวณลักษณะและตำแหน่งของดวงจันทร์ ระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้น และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ เมื่อมีการเตรียมพร้อมมากๆ ก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้ภาพถ่ายที่สวยงาม



Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

มาดูกันดีกว่าว่าต้องรู้สิ่งไหนบ้างก่อนออกไปถ่ายภาพ



dawn-dusk



  • เวลา Twilight (ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าและอยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 6 องศา ท้องฟ้ายังสว่างพอที่จะเห็นรายละเอียดอื่น ๆ โดยไม่ต้องพึ่งแสงไฟ)

  • เวลา Nautical (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 12 องศา ยังสว่างพอมองเห็นขอบฟ้าอยู่) และ Astronomical (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 18 องศา เริ่มมืดพอที่จะเห็นดวงดาวบนท้องฟ้า)  

  • ข้างขึ้น- ข้างแรมของดวงจันทร์

  • ตำแหน่งของดวงจันทร์บนท้องฟ้า

  • เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้น

  • เวลาที่เกิดทางช้างเผือก

  • ตำแหน่งของทางช้างเผือก

 

การถ่ายภาพตอนกลางคืน

 

Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

ถ้าต้องการถ่ายภาพดวงดาวและท้องฟ้าตอนกลางคืน จะต้องหาสถานที่ในการถ่ายภาพที่อยู่ไกลจากเมืองใหญ่และแสงไฟต่าง ๆ ควรใช้ฟิลเตอร์เช่น NiSi’s Natural Night ซึ่งช่วยลดแสงไฟ และช่วยให้สามารถสังเกตรายละเอียดของท้องฟ้าได้ง่ายขึ้น  

นอกจากนี้ถ้าต้องการถ่ายดาวบนท้องฟ้า ควรหลีกเลี่ยงถ่ายช่วงที่ใกล้กับดวงจันทร์เต็มดวง เพราะท้องฟ้าจะสว่างเกินไปและมองไม่เห็นดาว

 

การถ่ายทางช้างเผือก

 

Milky Way photography - Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

ประเทศนอร์เวย์มีชื่อเสียงมาจากแสงเหนือและท้องฟ้ายามค่ำคืนที่มีหมู่ดาวงดงาม ดังนั้นถ้าใครมีโอกาสได้ไปนอร์เวย์ ควรหาเวลาไปถ่ายท้องฟ้าตอนกลางคืน เทคนิคในการถ่ายทางช้างเผือกก็คล้ายๆ กับการถ่ายภาพอื่น ๆ ตอนกลางคืน จะต้องใช้ค่า f เลขน้อย ปรับ ISO ให้สูง และสปีดชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 30 วินาที โดยส่วนตัวผู้เขียนพบว่าใช้ค่า ISO สูง ๆ และสปีดชัตเตอร์ประมาณ 25 วินาที (เมื่อถ่ายที่ระยะเลนส์ 14mm f2.8) จะทำให้เห็นรายละเอียดอื่น ๆ ได้ดีกว่า

นอกจากนี้ในการถ่ายภาพทางช้างเผือกระหว่างที่ดวงจันทร์เพิ่งขึ้นหรือก่อนที่ดวงจันทร์ขึ้น เป็นเวลาที่ยอดเยี่ยม เพราะท้องฟ้าสว่างจะช่วยให้เห็นรายละเอียดของทางช้างเผือกได้มากขึ้น

 

การถ่ายฝนดาวตก

 

Northern Light Meteorite - Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

เนื่องจากการถ่ายภาพแนวนี้ค่อนข้างจับภาพได้ลำบาก เพื่อสามารถจับภาพดาวตกได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรตั้งค่ากล้องให้อยู่ในโหมด interval shooting และปล่อยให้กล้องถ่ายไปเรื่อย ๆ

แต่ถ้าต้องการจับภาพดาวตกที่เล็กที่สุด ต้องเพิ่มสปีดชัตเตอร์ประมาณ 15 วินาที (ขึ้นอยู่กับความสว่างในตอนนั้น)

 

การถ่ายแสงเหนือ

 

Northern Lights Iceland - Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

แสงเหนือเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ความท้าทายคือแสงเหนือเคลื่อนที่เร็วและค่อนข้างสว่าง เพื่อให้ภาพถ่ายคมชัด ควรใช้สปีดชัตเตอร์ตั้งแต่ 1-10 วินาที ขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงเหนือ สิ่งที่ควรระวังคือยิ่งแสงเคลื่อนที่เร็ว จะต้องใช้สปีดชัตเตอร์เร็วขึ้น และควรระวังการตั้งค่า histogram ไม่ควรให้ส่วนที่สว่างที่สุดในภาพ สว่างจนเกินไปจนมองไม่เห็นรายละเอียด นอกจากนี้ควรถ่ายแสงเหนือสองครั้ง เพื่อนำไปแต่งภาพรวมกันเป็นภาพหนึ่งใบภายหลังได้

 

การถ่ายดาวเป็นเส้นสาย

 

เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง เมื่อใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ  กล้องก็จะบันทึกการโคจรของดาวได้ ซึ่งจะทำให้เห็นดาวเคลื่อนที่ เมื่อใช้สปีดชัตเตอร์นานๆ หลายนาทีหรือเป็นชั่วโมง สามารถใช้ ISO ต่ำๆ และรูรับแสงแคบ แต่ควรระวังเมื่อใช้สปีดชัตเตอร์นานอาจเกิด hot pixel  จุดแดงคล้าย Noise ที่เกิดจากการใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ

นอกจากนี้สามารถถ่ายภาพได้หลาย ๆ ภาพโดยใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ และแต่งภาพเข้าเป็นภาพเดียวด้วยโปรแกรม Photoshop หรือ StarStax

 

Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

(ถ่ายที่ทะเลทรายซาฮาร่า โดย Darlene Hidebrandt ใช้สปีดชัตเตอร์ 30-45 นาที

แต่งภาพด้วยโปรแกรม StarStax)



การถ่ายดวงจันทร์เต็มดวงหรือเมื่อดวงจันทร์ส่องสว่าง

 

moonrise in lofoten - Tips and Tricks for Night Photography the Starry Sky

 

การถ่ายภาพตอนกลางคืนดวงจันทร์เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม เพราะความสว่างของดวงจันทร์ทำให้เห็นดวงดาวบนท้องฟ้า หรือถ้าใช้ดวงจันทร์เป็นตัวแบบอยู่บนท้องฟ้า ก็ทำให้ได้ภาพถ่ายที่น่าสนใจเช่นกัน

 

ดวงจันทร์ถือเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่สว่าง จึงสามารถใช้ ISO ต่ำ ๆ และรูรับแสงแคบในการถ่ายภาพได้ ง่ายต่อการหาองค์ประกอบอื่นๆ และภาพถ่ายจะสว่างขึ้น ให้ระวังเงาที่อาจเกิดในภาพ ทำให้ภาพไม่สวย สำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ ให้จัดองค์ประกอบภาพโดยให้มีองค์ประกอบที่น่าสนใจ เช่น ถ่ายดวงจันทร์เหนือภูเขา หรือใช้เป็นเงาสะท้อนกับทะเลสาบก็ได้เช่นกัน

 



ที่มา

digital-photography-school.com,

wordpress.mrreid.org

Back to top