Thailand English
 
Thailand English

 

 

รู้ก่อนถ่าย! ถ่ายพลุสิ้นปีให้สวยสะดุดตากว่าใคร

ไอคอนของการเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่อย่าง ‘พลุ’ เป็นอีกหนึ่งความประทับใจสิ้นปี ที่เมื่อถูกจุดขึ้นบนท้องฟ้าทีไร ก็ต้องยกกล้องออกมาถ่ายอย่างรวดเร็ว แต่จะถ่ายยังไงให้ปัง มาดูทริคนี้กันกับ ‘รู้ก่อนถ่าย! ถ่ายพลุสิ้นปีให้สวยสะดุดตากว่าใคร’ พร้อมแล้วก็ไปเก็บภาพความประทับใจส่งท้ายปีกันดีกว่า!

 

1. สถานที่

Cr. Brayden Law , Zichuan Han

 

Cr. Suvan Chowdhury

เลือกสถานที่ถ่ายกันหน่อย ถึงแม้ว่าเราจะถ่ายพลุที่ไหนก็ได้ แต่สถานที่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราอาจจะเลือกสถานที่จากที่ที่เคยไป สถานที่สวยๆและคาดว่าต้องมีการจุดพลุแน่นอน พร้อมคิดภาพในหัวว่าเราอยากได้ภาพประมาณไหน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นด้วย ภาพสะท้อนจากน้ำ , การถ่ายต้นไม้ย้อนแสงหรือคนย้อนแสงแบบรูปด้านล่าง

Cr. Pixabay

 

Cr. Marc Schulte

2. อุปกรณ์

Cr. Ray Hennessy

อยากได้ภาพสวย อุปกรณ์ต้องพร้อม!

  • กล้อง : สำหรับใครที่อยากได้ภาพพลุสวยๆแบบคมชัด และสามารถปรับตั้งค่าได้ตามต้องต้องการ
  • ขาตั้งกล้อง : ตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้แม้ว่าเราจะปรับตั้งค่ากล้อง ปรับสปีดชัตเตอร์แค่ไหน ก็จะช่วยทำให้กล้องนิ่งและลดการสั่นไหวของภาพได้เป็นอย่างดี
  • การเลือกเลนส์ : จะขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่ายในสถานที่แบบไหน ถ่ายใกล้หรือไกลพลุมากแค่ไหน ถ้าถ่ายในระยะใกล้ ก็ควรเลือกเลนส์กว้าง เพื่อให้ภาพเก็บครบทั้งบรรยากาศและพลุ เพื่อไม่ให้ภาพดูอึดอัด

 

3. ปรับ/ตั้งค่ากล้อง

สำหรับใครที่เป็นสาย Auto บอกเลยว่ายังไม่พอ ลองอัพสกิลมาใช้โหมด Manual แบบเต็มตัวกันดีกว่า เพราะในโหมดนี้ เราจะสามารถตั้งค่ารูรับแสง White Balance และ ISO ได้อย่างอิสระ ตามที่ต้องการ

Cr. James Owen

ปรับ White Balance หรือ สมดุลแสงสีขาว เราสามารถปรับอุณหภูมิสีให้เหมาะสมกับสภาพแสง เพื่อทำให้ภาพมีสีสันที่ถูกต้อง หรือตามที่ต้องการ

Cr. Martin Petras

ลดค่า ISO การถ่ายในที่แสงน้อยหรือมืดมากๆ และเปิดสปีดชัตเตอร์นานขึ้น จะทำให้ภาพเกิด noise แต่ถึงแม้ว่าจะถ่ายในตอนกลางคืน แสงที่ที่ได้จากพลุจะทำให้ภาพสว่างขึ้นมา จึงไม่ต้องใช้ ISO สูง แต่ว่าต้องปรับลด ISO ลงมาประมาณ ISO 100 ในกล้องทั่วไป

Cr. Mitchell Luo

ในการตั้งค่ารูรับแสง เราต้องคำนึงถึง เรื่อง depth-of-field หรือหน้าชัดหลังเบลอมากแค่ไหน พลุจะอยู่ห่างจากกล้องในระยะนึงเลย ดังนั้นเมื่อเราโฟกัสพลุ ที่อยู่ในระยะไม่ใกล้ตัว จะทำให้เกิดมิติ หรือหน้าชัดหลังเบลอได้ดี ให้ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสกว้าง ก็จะช่วยให้เกิดหน้าชัดหลังเบลอที่ดีขึ้น

 

4. ตั้งค่า Speed Shutter หรือค่าความเร็วชัตเตอร์

Cr. Elisha Terada

การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed Shutter สำคัญมากต่อการถ่ายภาพ ‘พลุ’ ในการตั้งค่าทั่วไป เราอาจจะปรับความเร็วชัตเตอร์ 4 วินาที บางทีก็อาจจะสั้นหรือนานเกินไป ซึ่งตัวนี้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาหรือการถ่ายพลุแต่ละครั้งที่ต้องการถ่าย และจะแตกต่างกันไปในความสั้นยาวของเวลาที่พลุอยู่บนท้องฟ้า

ที่มา: https://digital-photography-school.com/8-tips-for-better-fireworks-photos/

Back to top