Thailand English
 
Thailand English

 

เคล็ดลับการใช้ฟิลเตอร์ในการถ่ายภาพ Landscape EP.1

เคล็ดลับการใช้ฟิลเตอร์ในการถ่ายภาพ Landscape
EP 1 รู้จักกับฟิลเตอร์

 

คุณต้องการถ่ายภาพ Landscape ให้ดูเป็นมืออาชีพมั้ย? การมีไอเท็มลับที่เรียกว่า

ฟิลเตอร์จะช่วยให้คุณทำสิ่งนี้ได้ง่ายขึ้น

ส่วนใหญ่มักพบว่าฟิลเตอร์เป็นไอเท็มที่ต้องมีติดกระเป๋าของช่างภาพ Landscpae ราคาไม่แพง ทั้งยังขนาดเล็กง่ายต่อการพกพา แต่เป็นตัวช่วยที่ดีเพื่อให้คุณได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ช่วยปรับสีของภาพให้ดีขึ้น และทำให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์ช้าๆ ในการจับภาพสายน้ำให้นุ่มนวล  ดังนั้นก่อนตัดสินใจมีฟิลเตอร์ติดตัวไว้ ก็ต้องมาดูว่าฟิลเตอร์แบบไหนจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ในการถ่ายภาพของเราได้มากที่สุด



Filters Explained: Part 1 - Filters for Landscape Photography





  1. ฟิลเตอร์ CPL

 

Polarizers

ภาพโดย  Steve Hardy  



ในการถ่ายภาพเมื่อใช้ฟิลเตอร์ CPL ฟิลเตอร์ตัดแสงโพลาไรซ์ ที่ช่วยเพิ่มความอิ่มตัวของสี ลดแสงจ้าและเงาสะท้อนที่ไม่ต้องการ จะได้ภาพวัตถุที่มีสีเข้มขึ้น เช่น เมื่อใช้กับท้องฟ้า สีของท้องฟ้าจะเป็นสีฟ้ามากขึ้น

 

ฟิลเตอร์ CPL จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ของช่างภาพ landscape ที่ต้องการปรับปรุงภาพถ่ายให้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถหมุนฟิลเตอร์เพื่อปรับความเข้มของแสง ช่วยให้ไม่ต้องกลับไปแต่งภาพต่อด้วย

 



ฟิลเตอร์ ND

 

Neutral Density

 

ภาพโดย Luke Detwiler



ฟิลเตอร์ ND เป็นฟิลเตอร์สำคัญสำหรับช่างภาพ Landscape ฟิลเตอร์ชนิดนี้ทำหน้าที่เหมือนม่านบังแดดให้เลนส์ ช่วยลดแสงจำนวนมากที่จะเข้ามาในเลนส์ และทำให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ  เพื่อจับภาพสายน้ำและก้อนเมฆให้เบลอและนุ่มนวล



ฟิลเตอร์ GND



Graduated Neutral Density



ฟิลเตอร์ GND หรือที่เรียกว่า ND ครึ่งซีก คล้ายฟิลเตอร์ ND ที่ทำหน้าที่ช่วยลดแสงเช่นกัน แต่ต่างกันที่ครึ่งแผ่นของฟิลเตอร์ชนิดนี้เป็นแผ่นใสไม่มีสี ส่วนอีกครึ่งแผ่นเป็นสีเข้มตามสีของฟิลเตอร์แต่ละรุ่น

ในการถ่ายภาพ Landscape มักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อต้องการถ่ายภาพในที่ที่มีสภาพแสงต่างกัน เช่น ท้องฟ้าสว่างจ้าแต่ฉากหน้ามืด ยากต่อการวัดแสง เลยต้องใช้ฟิลเตอร์ GND โดยวางตำแหน่ง

ฟิลเตอร์ที่มีสีเข้มไว้ตรงท้องฟ้า ช่วยลดแสงท้องฟ้า ส่วนอีกครึ่งซีกที่ไม่มีสีวางไว้ที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพถ่ายหนึ่งภาพที่มีค่ารับแสงที่เหมาะสม



ฟิลเตอร์ UV



UV

 

picture by Robert Pittman

 

 

 

ฟิลเตอร์ UV เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้แทนฟิลเตอร์ protector ช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการกระแทกที่หน้าเลนส์ของคุณ ช่วยให้ทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ยังช่วยลดแสง UV ได้อีก

 

 

 

ฟิลเตอร์เอฟเฟ็กต์พิเศษ




Special Effects



picture by kuhnmi




ฟิลเตอร์เอฟเฟ็กต์พิเศษได้รับความนิยมน้อยลง ตั้งแต่สามารถใช้เอฟเฟ็กต์ต่างๆ ใน photoshop  แต่ยังคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ใช้ถ่ายหนังหรือไม่ต้องการแต่งภาพต่อ

ตัวอย่างฟิลเตอร์เอฟเฟ็กต์พิเศษ เช่น ฟิลเตอร์ star ซึ่งทำให้แสงในภาพถูกดีไซน์ให้เป็นแฉก ฟิลเตอร์ Bokeh คือฟิลเตอร์ที่มีรูปอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ได้ภาพ Bokeh ที่สวยงาม และฟิลเตอร์ Infrared หรือฟิลเตอร์ IR ช่วยดึงรายละเอียดในที่มืดให้สว่างขึ้น คล้ายกับฟิลม์อินฟราเรด แต่ก็ต้องนำไปแต่งภาพต่อด้วย เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์



ลักษณะของฟิลเตอร์

 

  • ฟิลเตอร์วงกลม

ฟิลเตอร์นี้ใส่เข้าไปหน้าเลนส์ตรงๆ พบได้ในฟิลเตอร์ชนิด UV ,ฟิลเตอร์ PL และฟิลเตอร์ ND  ปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงเวลาเลือกฟิลเตอร์ชนิดนี้ คือความหนาของฟิลเตอร์ ถ้าขอบฟิลเตอร์หนาอาจทำให้ภาพติดขอบฟิลเตอร์ได้ขณะที่ฟิลเตอร์ที่มีขอบบางกว่าจะทำให้ภาพไม่ติดขอบฟิลเตอร์

 

  • ฟิลเตอร์แบบแผ่น

 

ฟิลเตอร์แบบแผ่นเป็นตัวเลือกยอดฮิตสำหรับช่างภาพ Landscape เพราะฟิลเตอร์จะพอดีกับช่องเสียบที่ติดกับหน้าเลนส์ ส่วนใหญ่จะพบในฟิลเตอร์ GND หรือ ND ครึ่งซีก ข้อดีของฟิลเตอร์นี้คือไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิลเตอร์หลายขนาดสำหรับเลนส์หลายๆ ตัวเลย แต่ต้องใช้ร่วมกับ adapter และ filter holder  



อ่านต่อ EP.2 คลิก

 

ที่มา

https://contrastly.com/filters-explained-part-1-landscape-photography/





 









Back to top