Thailand English
 
Thailand English

เคล็ดลับการระเบิดซูม

 

ใครอยากได้ภาพถ่ายที่ระเบิดเปรี้ยงปร้างและสะดุดตาคนอื่น ๆ บ้าง ? เพียงใช้เทคนิคระเบิดซูม ตัวแบบของคุณก็จะคล้ายกับเปล่งแสง หรือหากถ่ายแสงไฟในเมือง ก็จะเห็นแสงไฟที่พุ่งออกมา ด้วยเทคนิคจากบทความนี้จะทำให้ถ่ายระเบิดซูมง่าย ๆ ได้ภาพสวย ๆ ไปอวดเพื่อน

 

 

 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ถ่ายเทคนิคอันน่าทึ่งนี้

 

  • กล้องที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ 
  • เลนส์ที่สามารถซูมได้
  • ขาตั้งกล้อง

 

 

ถ่ายอย่างไร ?

 

การใช้เทคนิคระเบิดซูมเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่สามารถทำได้ ซึ่งหลักง่าย ๆ ของการถ่ายนี้เพียงแค่หมุนวงแหวนเลนส์ระหว่างที่ใช้สปีดชัตเตอร์ช้าๆ เท่านั้น

 

  • เลือกฉากที่มีแสงไฟมาก ๆ เช่น ในเมืองที่มีแสงไฟจากตึก
  • ใช้สปีดชัตเตอร์ตั้งแต่ 1/ 60 วินาที
  • สามารถถ่ายภาพโดยใช้มือเปล่าถือกล้องได้ แต่จะดีกว่าถ้าใช้ขาตั้งกล้อง 
  • ให้หมุนวงแหวนเลนส์ระหว่างที่เปิดม่านชัตเตอร์ไว้ ซึ่งการซูมเข้าทำให้แสงไฟคล้ายพุ่งออกจากตัวแบบ ส่วนการซูมออกทำให้แสงพุ่งเข้าหาตัวแบบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการภาพถ่ายแบบไหน

 

 

 

 

1. เลือกโลเกชั่นดี ๆ

ไม่ใช่ว่าทุกสถานที่จะถ่ายระเบิดซูมได้ดี โดยเฉพาะถ้ามีตึกกระจุกอยู่เต็มไปหมด ควรลองพยายามมองหาตึกโดดๆ ที่ไม่ถูกล้อมรอบด้วยตึกอื่น ๆ จะดีกว่า หรือจะถ่ายชิงช้าสวรรค์ก็ได้เช่นกัน ซึ่งสถานที่ที่ใช้ถ่ายระเบิดซูมที่ดี เวลาซูมเข้าจะต้องเห็นสถานที่ และซูมออกมาเห็นแสงไฟที่อยู่รอบ ๆ

สามารถใช้เทคนิคระเบิดซูมในตอนกลางวันได้ แต่จำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์ ND เพราะฟิลเตอร์ ND ทำให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์ได้ 30 วินาทีในการระเบิดซูม

 

 

(เมื่อตึกมีแสงไฟมากมาย อาจทำให้การระเบิดซูมดูยุ่งเหยิง)

 

 


2 . ใช้ขาตั้งกล้อง

 

ถ้าใช้สปีดชัตเตอร์นานๆ ตั้งแต่ 25 ถึง 30 วินาที จะต้องใช้ขาตั้งกล้องด้วย เพราะจะต้องแน่ใจว่ากล้องอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงและนิ่ง ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดนั่นเอง

 

 


3. เลือกเลนส์ที่ใช่

 

ควรเลือกเลนส์ super-zoom ที่มีระยะเลนส์ตั้งแต่ 18-300mm เลนส์ชนิดนี้จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่ดูครีเอท เพราะสามารถซูมได้เยอะ จนเห็นเป็นแสงไฟยาว ๆ และสามารถเลือกได้ว่าจะจัดองค์ประกอบแบบกว้างหรือแบบแคบก็ได้ ทำให้ยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีเลนส์ระยะนี้ สามารถใช้เลนส์ kit ที่มีระยะ 18-55 ก็ใช้ระเบิดซูมได้ดีเช่นกัน

 

 


4. ใช้ Live View ในการโฟกัส

 

ควรจัดองค์ประกอบภาพในตำแหน่งสุดท้ายที่ตั้งใจจะระเบิดซูม เพราะองค์ประกอบสุดท้าย
สำหรับการถ่ายระเบิดซูมจะเป็นระยะของเลนส์ที่กว้างหรือแคบ ขึ้นอยู่กับการซูมที่เลือก ให้ใช้โหมด Live View ในการจัดองค์ประกอบและซูมเข้าไปหาสถานที่ที่อยู่ตรงกลางที่ตั้งใจจะโฟกัส และใช้การโฟกัสแบบ Manual จะได้ภาพที่คมชัด เพราะจะสามารถป้องกันการโฟกัสหลุดได้

 

 

(ใช้การซูมเข้าไปที่ปราสาทนาโกย่า)

 

 

5. ซูมเข้าไปหาสถานที่

 

อย่าลืมว่าสถานที่ของฉากที่ต้องการระเบิดซูมให้คมชัดยู่ตรงกลางภาพ ซึ่งควรตัดสินใจตั้งแต่
จัดองค์ประกอบภาพเรียบร้อยแล้ว และก่อนลงมือถ่าย ควรแน่ใจว่าตั้งค่ากล้องทุกอย่างถูกต้อง ให้ตั้งค่า
สปีดชัตเตอร์ 25-30 วินาที ใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ

 

 

6. ระเบิดซูมให้สมบูรณ์

 

เมื่อถ่ายระเบิดซูม ให้ตั้งเวลาหน่วงชัตเตอร์ 2 วินาที หรือจะใช้ถึง 10 วินาที หลังจากกดชัตเตอร์เพื่อเริ่มนับถอยหลัง ในจุดที่ชัตเตอร์ใกล้จะเปิด ให้ซูมช้า ๆ อย่างนุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้องสั่น การซูมออกควรทำระหว่างวินาทีที่ 2 และ 5 จะดีกว่า ยิ่งซูมนานยิ่งทำให้เกิดเส้นไฟที่เป็นเส้นสายในภาพ

 

 

(ชิงช้าสวรรค์ก็เป็นตัวแแบบที่ยอดเยี่ยมในการระเบิดซูม)

 

 


7. ปล่อยให้กล้องถ่ายจนเสร็จ

 

เมื่อซูมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เอามือออกจากเลนส์โดยไม่ไปโดนตัวกล้อง กล้องจะใช้สปีดชัตเตอร์ถ่ายไปเรื่อยๆ จนครบเวลาของสปีดชัตเตอร์ที่ตั้งไว้

 

 

(สะพานที่มีไฟประดับมากมายเป็นตัวแบบที่ดีในการระเบิดซูม)

 

 

 

(นี่คือตัวอย่างตัวแบบที่ดีในการระเบิดซูม)

 

 

(ภาพนี้ใช้การซูม โดยมีระยะไม่หยุดนิ่ง)

 

(ภาพนี้แสงให้เห็นการระเบิดซูมและระยะะคงที่ ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีแสงไฟหลากสี)

 

ที่มา digital-photography-school.com

Back to top