JavaScript seems to be disabled in your browser. You must have JavaScript enabled in your browser to utilize the functionality of this website.
ขอเริ่มต้นจากการปรับค่า White Balance กล้องไปที่สัญญลักษณ์รูปหลอดไฟแท่งสี่เหลี่ยมเรืองแสงซึ่ง หมายถึง แหล่งกำเนิดแสงครั้งนี้ของเราเป็นไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ หากปรับไปที่ค่าแบบอื่นผิวของนางแบบก็จะผิดจากความเป็นจริงได้ หรือจะลองตั้งค่าแบบกำหนดเอง (Preset)
จากนั้นตั้งค่าความไวแสง หรือ ISO ไปที่ 400 ปรับค่ารูรับแสงของกล้องไปที่ F/5.6 เพื่อให้ฉากหลังเบลอหลุดโฟกัสไป ตัวแบบก็จะโดดเด่นขึ้น จากนั้นดูที่สเกลค่าการวัดแสงจากช่องมองภาพ หรือหน้าจอ LCD ว่าอยู่ในช่วงใด...โอเวอร์คือขีดของสเกลจะเลื่อนไปทางบวก หรืออันเดอร์ คือขีดสเกลเลื่อนไปทางลบ
ถ้าอยากให้นางแบบของเราผิวขาว ควรตรวจสอบค่าการวัดแสงให้ติดทางโอเวอร์ เพื่ออะไรครับ... เพื่อให้ผิวนางแบบของเราขาวสวยสมจริง เนื่องการเซลล์รับค่าการอ่านแสงของกล้องใช้หลักเทากลาง 18% มาประมวลผลนั่นเอง หากไม่ชดเชยแสงให้สว่างขึ้นผิวนางแบบก็จะ...ออกเทาๆ
ที่เหลือก็อยู่ที่การจัดองค์ประกอบ และการจับจังหวะการเคลื่อนไหวของตัวแบบให้ดูมีชีวิตชีวา
อุปกรณ์ : หัวไฟต่อเนื่อง Studio Beginners ขาตั้งไฟ ฉากผ้าสีเขียว แบบ : CUPCAKE
ฐานนี้จะเป็นการเรียนรู้และทดลองเรื่องของรูรับแสงจากประสบการณ์ตรงที่ทุกท่านจะได้ Workshop จาก Subject ที่อยู่ตรงหน้า...CUPCAKE
ตามความเข้าใจที่ อ.ตุลย์ได้แนะนำไว้ว่า เมื่อเปิดหน้ากล้องกว้างที่มีตัวเลขน้อยๆ จะทำให้ช่วงความชัดที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรครับ...ได้ความชัดตื้น คือ วัตถุด้านหน้าชัด ด้านหลังจะเบลอ
ในทางตรงข้าม เมื่อเปิดหน้ากล้องแคบ ซึ่งมีตัวเลขมากขึ้นจะทำให้ได้ระยะ....ชัดลึก คือด้านหน้าก็ชัด ด้านหลังก็ชัดด้วย สามารถนำไปใช้กับการถ่ายภาพตามสถานที่ท่องเที่ยวได้ อาทิ ด้านหลังเป็นโบราณสถาน ที่สำคัญเราก็ใช้เทคนิคชัดลึกช่วยให้ตัวแบบกับสถานที่ชัดทั้งภาพ
แต่ถ้าด้านหลังเป็นทุ่งดอกไม้ สามารถนำเทคนิคชัดตื้น มาช่วยให้ตัวนางแบบชัดโดดเด่น แต่สิ่งที่อยู่รอบตัวเบลอๆ ไป
อุปกรณ์ : ฉากผ้าสีดำ แบบ : ลูกข่างไฟ
สิ่งสำคัญลำดับแรกของการบันทึกภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ไม่หยุดนิ่ง ควรต้องสังเกตว่าวัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวทิศทางใด เพื่อคาดคะเนระยะการกดชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับการจัดองค์ประกอบของภาพ อีกทั้งต้องเลือกรูปแบบการโฟกัสภาพให้เหมาะสม
ลูกข่างไฟ จะมีแสงไฟเกิดขึ้นตลอดเวลาการเปิดความเร็วชัตเตอร์ให้ช้า หรือเร็ว ผลลัพธ์ที่ออกมาจะแตกต่างกัน ภาพที่ได้ไม่จำเป็นต้องชัด ภาพที่ได้ไม่จำเป็นต้องหยุดการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ค่า White Balance ไม่จำเป็นต้องตรงกับแหล่งกำเนิดแสง เพื่อให้เกิดแสงที่ผิดเพี้ยนแปลกออกไปตามจินตนาการ
จากนั้นลองปรับค่าความไวแสง หรือ ISO ไปที่ 400 เพื่อทดลองปรับชัตเตอร์ให้ทำงานแตกต่างกันในแต่ละความเร็วเป็นการเปรียบเทียบ...เป็นองค์ความรู้
การถ่ายภาพมาโครมักเป็นการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก หรือเป็นการถ่ายภาพใกล้วัตถุให้มีอัตราส่วนสูงขึ้น ทาง BIGCAMERA จึงจำลองดอกไม้ที่มีแสงไฟสีสันสดใสให้ท่านได้เลือกเก็บรายละเอียดในหลากหลายมุมกันอย่างจุใจบนฉากสีดำ
ยิ่งใกล้ตัววัตถุเท่าใดระยะชัดลึกยิ่งมีน้อย แสงไฟจะเกิดการพร่าเบลอ หรือหลายท่านเรียกว่า โบเก้ (BOKEH)
ลองโฟกัสที่แสงไฟส่วนปลายก็ได้ภาพอย่าง เมื่อโฟกัสไปที่โคนดอกไม้ก็จะเกิดภาพอีกรูปแบบหนึ่งตามแต่เราจะจินตนาการต้องลองฝึกดู...อย่าลืมเปิดค่า ISO สัก 400 ล่ะ
Back to top