Landscape หรือภาพวิวทิวทัศน์ที่เรานิยมถ่ายกัน โดยปกติภาพ Landscape ที่เห็นส่วนใหญ่ก็จะเป็นมุมมหาชน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจและเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ภาพ ไม่ว่าจะมือใหม่หรือช่างภาพมืออาชีพก็ดี บทความนี้มี 9 เทคนิคเพื่ือเป็นแรงบันดาลใจและตัวเลือกใหม่ๆ ในการถ่ายภาพ Landscape ให้ดูแตกต่างและเพิ่มความโดดเด่นขึ้น
1. เปลี่ยนไปใช้เลนส์ telephoto ถ่ายบ้าง
โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพ เพื่อเก็บรายละเอียดให้ครบในภาพ แต่การลองถ่ายภาพด้วยเลนส์ telephoto ที่ทางยาวโฟกัสยาวขึ้นเช่น เลนส์ 100-300mm สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆ หรือวัตถุที่เป็น pattern ในการถ่าย Landscape ได้ หรือจะลองซูมถ่ายเฉพาะยอดเขาดูก็ได้ และคุณจะได้พบมุมมองใหม่ๆ ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
ถ่าย close up ที่ Green Hills ระยะ 300mm
2. เล่นกับ Motion
เมื่อจะถ่ายภาพก้อนเมฆเคลื่อน สายน้ำไหล เราอาจลองเพิ่มชีวิตชีวาลงในภาพโดยใช้การเคลื่อนไหวของตัวแบบเหล่านี้ ซึ่งเราสามารถใช้สปีดชัตเตอร์ช้าๆ หรือใช้ฟิลเตอร์ ND ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เปิดสปีดชัตเตอร์ได้นานขึ้น ช่วยเพิ่มความสวยงามลงในภาพ
3. ลองใช้ฟิลเตอร์ CPL
ผู้เขียนถ่ายภาพ Landscape มาหลายปีโดยไม่ใช้ฟิลเตอร์ CPL แต่ทันทีที่ได้ใช้ฟิลเตอร์ CPL ก็พบว่ามีประโยชน์มาก ในหลายกรณี เช่น ถ่ายท้องฟ้าแล้วสีเข้มขึ้น และช่วยลดการสะท้อนจากพื้นผิวของวัตถุที่เปียกน้ำได้
4. ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสมากๆ
ภาพถ่าย Landscape จะดูแตกต่างออกไป เมื่อเราใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากๆ ซึ่งจะสามารถบีบฉากหน้าและฉากหลังให้เข้ามาอยู่ใกล้กัน ทำให้ภาพมีความลึกและดูมีมิติมากขึ้น
ถนนและฉากหลังถูกบีบด้วยระยะ 135mm
ถ่ายที่ระยะ 200mm และมีคนเป็นองค์ประกอบ แสดงให้เห็นสัดส่วนในภาพ
5. ใช้แสงให้เป็นประโยชน์
สภาพแสงมักเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาระหว่างที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก หากเราคอยสังเกตสิ่งเหล่านี้ จะรู้ว่าเมื่อสภาพแสงเปลี่ยนไปในแต่ละเวลา จะให้อารมณ์ของภาพที่แตกต่างกัน และยังจะทำให้วัตถุหรือตัวแบบโดดเด่นขึ้นมาด้วยแสงได้ ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ภูเขา ระหว่างที่มีหมู่เมฆและสภาพแสงให้เล่นตลอดทั้งวัน
ถ่ายตอนแสงแดดยามเช้ากระทบยอดภูเขา
6. เข้าใกล้วัตถุมากๆ
เมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง ให้เข้าใกล้วัตถุที่อยู่ฉากหน้ามากๆ จนเลนส์ของคุณเกือบแตะวัตถุเลย เช่น ดอกไม้หรือต้นไม้ที่อยู่ฉากหน้า เพื่อสร้างความชัดลึกให้ภาพ เปิดรูรับแสงกว้างสุด เพื่อให้ฉากหน้าเบลอก็ได้ หรือจะใช้ focus stacking เพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในระยะโฟกัสและคมชัดได้
ย่อตัวต่ำๆ เพื่อถ่ายภาพ และเข้าใกล้ฉากหน้าจนหลุดระยะโฟกัส
ย่อตัวให้ต่ำมากและใช้ focus stacking
7. ดวงอาทิตย์เป็นแฉก
เมื่อเล็งกล้องไปที่ดวงอาทิตย์ตรงๆ และหุบรูรับแสงให้แคบที่ f16-f22 จะเห็นว่าดวงอาทิตย์จะเป็นแฉกๆ สวยงาม ซึ่งเลนส์แต่ละตัวมักให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ส่วนการถ่ายภาพให้จัดองค์ประกอบ โดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ที่ขอบฟ้า หรือใช้วัตถุอื่นบังไว้ก็ได้
ถ่ายที่ f22 ดวงอาทิตย์จะเป็นแฉกๆ เหนือต้นไม้
ดวงอาทิตย์สัมผัสขอบของวัตถุจนเกิดประกายแฉกๆ
8. ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างมากๆ
การถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างมากๆ ตั้งแต่ 14mm (บนกล้อง Full Frame) หรือเลนส์ fisheye จะช่วยเปิด Perspective ใหม่ๆ ของการถ่ายภาพ Landscape ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ชอบถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างมากๆ
ถ่ายฉากกว้างๆ ด้วยเลนส์ fisheye 12mm 180 องศา
ถ่ายเลนส์ fish eye 180 องศา
9. มองหาฉากที่ใช่
การเดินชมธรรมชาติไปเรื่อยๆ ใช้ดวงตาของเราในการจัดองค์ประกอบของเฟรมภาพไว้ก่อน บางทีเราอาจเจอฉากแปลกๆ ที่มีความ contrast กัน ให้ลองติดว่าองค์ประกอบต่างๆ จะเป็นอย่างไรเมื่อมองผ่านเลนส์
ที่มา petapixel.com