Thailand English
 
Thailand English

 

 

6 ขั้นตอน การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่าย Night Photography

เมื่อถึงตอนกลางคืน ทุกสิ่งทุกอย่างดูแปลกตาออกไป รูปภาพก็เช่นกัน เราถ่ายรูปภาพถ่ายตอนกลางวัน แสงจ้ากันมามากแล้ว ลองหันมาถ่ายภาพตอนกลางคืนกันดูบ้าง บอกเลยว่าสวยและน่าสนใจไม่แพ้กัน!!

Cr. AI404 : f6.3 shutter speed 240s ISO 100

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ ก็ถือว่าการถ่ายรูปตอนกลางคืนย่อมท้าทายความสามารถของเราขึ้นไปอีกระดับนึง เป็นการลองผิดลองถูกกับการตั้งค่ากล้อง ไม่ว่าจะเป็นค่า ISO ความไวแสง, ค่า F หรือค่ารูรับแสง และสปีตชัตเตอร์ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในเวลากลางคืน อีกเช่นเคยครับ ทาง Big Camera ของเราก็มีบทความที่จะทำให้การถ่ายรูปตอนกลางคืนของคุณเป็นเรื่องง่ายๆ ไปเลย และได้รูปที่ว้าวอย่างคาดไม่ถึงกันเลยครับ เราต้องเตรียมตัวตั้งค่ากล้องอย่างไรบ้าง ไปดูกันดีกว่าครับ

 

ตั้งค่าโหมด Manual

ตั้งค่าโหมด Manual สำคัญมากๆ เมื่อต้องการถ่ายภาพในตอนกลางคืน เนื่องจากเราสามารถปรับตั้งค่าได้ตามความเหมาะสมของปริมาณแสงในตอนนั้น และยังกำหนดได้เองว่าอยากให้ภาพออกมาตามที่เราต้องการ ดังนั้นควรใช้กล้องที่สามารถปรับเป็นโหมด Manual ได้นะครับ

Cr. Chris : f6.3 shutter speed 4s ISO 100

Cr. Rachael Webster : f2.2 shutter speed 1/60s ISO 1600

ปรับโฟกัสของเลนส Manual Focus

เช่นเดียวกับตัวกล้องเลยครับ เราควรปรับเลนส์ให้เป็นแบบปรับโฟกัสด้วยตัวเอง เนื่องจากโลเกชั่นในตอนกลางคืน แสงของวัตถุในเฟรมกล้องไม่เท่ากัน ถ้าเรายังคงใช้ออโต้โฟกัส อาจจะเกิดการโฟกัสผิดจุด ไม่ตรงกับจุดที่เราต้องการให้โฟกัส ดังนั้นการปรับโฟกัสด้วยตัวเองเป็นการดีที่สุดครับ

Cr. PhotoBobil : f2.5 shutter speed 1/40s ISO 100

Cr. Paul L : f2.8 shutter speed 1/90s ISO 800

Cr. yudesai : f9.0 shutter speed ⅕s ISO 125

ใช้ขาตั้งกล้อง

ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีเลยครับ ไม่ว่าจะการถ่ายภาพแบบไหนก็จำเป็นต้องใช้ทั้งนั้น โดยเฉพาะถ้าเราต้องการถ่ายในตอนกลางคืนแบบนี้ เพราะเราจำเป็นต้องเปิดม่านชัตเตอร์นานๆประมาณ 10 วินาทีเป็นอย่างต่ำ เพื่อรับแสงเข้ากล้อง ถ้ากล้องเกิดการสั่นหรือไม่นิ่งพอ จะทำให้ภาพที่ได้นั้นเบลอและไม่คมกริบนั่นเองครับ

Cr. photobeppus : f2.8 shutter speed 1/40s ISO 400

ตั้งสปีตชัตเตอร์ที่ 10 วินาที (10”) เป็นอย่างต่ำ

ในเรื่องของการตั้งสปีตชัตเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับโลเกชั่นที่อยู่ ณ เวลานั้นด้วยครับ ว่าแสงในบริเวณนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าแสงน้อยมากๆก็ต้องปรับให้สปีตชัตเตอร์มากกว่า 10 วินาทีนะครับ อาจจะเป็น 15วินาที หรือในบางกรณีมีการตั้งสปีดชัตเตอร์ไว้นานถึง 30 นาที ต่อการถ่ายภาพ 1 ภาพครับ เราต้องแน่ใจว่าแสงผ่านม่านชัตเตอร์ของกล้องมากเพียงพอ และทำให้ภาพออกมาในแบบที่เราต้องการครับ

Cr. daliscar1 : f2.0 shutter speed 1/60s ISO 1000

Cr. Shawn Brownlee : f8.0 shutter speed 2s ISO 125

Cr. Contando Estrelas : f4.5 shutter speed 1/25s ISO 800

รูรับแสง (F.stop) ยิ่งต่ำ ยิ่งดี

ในส่วนของรูรับแสงหรือค่า F นั้น ขึ้นอยู่กับกล้องและเลนส์ของแต่ละคนครับ ก้มลงดูที่เลนส์ตัวเองเลยว่าสามารถปรับ F ต่ำสุดเท่าไหร่ บางคนอาจจะต่ำสุดที่ F.5/6, F.3/5, F.2.8 หรือบางเลนส์อาจจะปรับลงได้มากกว่านั้น หลักการจะคล้ายๆกับสปีดชัตเตอร์ครับ คือเราต้องการให้แสงผ่านเข้ามาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และตัวรูรับแสงนี่ก็คือช่องทางหลักเลยครับ ที่จะให้แสงผ่านเข้าสู่ตัวเลนส์ หรือถ้าใครต้องการจะถ่ายแนว Night Landscape ก็อาจจะขยับเลขของรูรับแสงให้เยอะขึ้นหน่อยก็ได้ครับ ประมาณ F.11 หรือ F.16 กำลังดีเลย เนื่องจากเราต้องการเก็บรายละเอียดในบริเวณกว้างๆ ให้ภาพมีความชัดลึกมากที่สุดครับ

Cr. Luigi Tiriticco : f5.0 shutter speed 1/30s ISO 1600

Cr. Michele Ambrosi : f4.0 shutter speed 1/15s ISO 1600

 ตั้ง ISO สูงๆ

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อค่า ISOสูงๆ จะทำให้ภาพของเราสว่างขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับโอกาสเกิด Noise ที่มากขึ้น กล้องรุ่นใหม่ๆส่วนใหญ่จะสามารถถ่ายภาพโดยที่ไม่เกิด Noise หรือเกิดน้อยมากๆที่ ISO 1600 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโลเกชั่นอยู่ดีครับ ถ้าปริมาณแสงเพียงพออยู่แล้ว ก็อาจจะลด ISO ลง ตามความเหมาะสมและความต้องการของเราว่าต้องการให้ภาพออกมาเป็นอย่างไรครับ

Cr. Kyon Cheng : f3.5 shutter speed 1/40s ISO 3200

Cr. Pat Pilon : f5.6 shutter speed 1/30 ISO 3200

Cr. dhodho.net : f2.0 shutter speed 1/15 ISO 1600

Cr. akmontreal : f8.0 shutter speed 5s ISO 200

Back to top