ความลับหนึ่งของการถ่ายภาพ Landscape ที่มีหลายองค์ประกอบในภาพเดียวกัน ก็คือการใช้ฟิลเตอร์นั่นเอง เพราะถ่าย Landscape ย่อมเจอสถานการณ์ที่วัดแสงลำบาก ฟิลเตอร์หลัก ๆ ที่จำเป็นในการถ่าย Landscpae ก็มีฟิลเตอร์ CPL, ND, และ ND ครึ่งซีก ช่วยให้ถ่ายภาพได้สะดวก ไปดูกันว่าฟิลเตอร์แต่ละชนิดใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง
-
ฟิลเตอร์ CPL เปลี่ยนสีท้องฟ้า
ภาพด้านบน มีหมอกตอนเช้า จึงต้องใช้ฟิลเตอร์ CPL เพื่อให้ท้องฟ้ายังคงเป็นสีฟ้า
ช่างภาพ Landscape จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์ CPL ติดตัว ช่วยตัดแสงโพลาไรซ์ ทำให้วัตถุมีสีเข้มขึ้น บางครั้งการออกไปถ่ายภาพข้างนอก ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอแสงสะท้อนมากมาย เป็นเหตุให้ท้องฟ้าสีเพี้ยน ก็เลยต้องพกฟิลเตอร์ชนิดนี้ไปด้วย เวลาถ่ายภาพควรเล็งกล้องทำมุม 90 องศาจากดวงอาทิตย์ หรือยืนถ่ายให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านข้าง
เมื่อใส่ฟิลเตอร์แล้ว การหมุนฟิลเตอร์ CPL ระหว่างจัดองค์ประกอบภาพ จะให้ผลที่ต่างกัน ควรระวังอย่าหมุนมากเกินไป เพราะอาจตัดแสงในฉากมาก เช่น ถ่ายท้องฟ้า หมุนฟิลเตอร์เยอะ ทำให้ท้องฟ้าจะมีสีน้ำเงินเข้ม ไม่เป็นธรรมชาติ
2. ฟิลเตอร์ CPL ตัดแสงสะท้อน
(ภาพด้านซ้ายไม่ใช้ฟิลเตอร์ CPL แสงที่กระทบกับผิวน้ำจึงเห็นวัตถุที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้ลำบาก ส่วนภาพด้านขวา ใส่ฟิลเตอร์เข้าไปและถ่ายภาพ ทำให้เห็นก้อนหินอยู่ใต้น้ำชัดเจนกว่า)
หลายครั้งที่ช่างภาพสาย Landscape ไปถ่ายน้ำตกหรือทะเลสาบ แสงจะสะท้อนกับพื้นผิวน้ำ ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ บางครั้งใต้น้ำก็มีสิ่งน่าสนใจเช่น ก้อนหิน ปลา หรือขอนไม้ที่หล่นจากต้นไม้ เพื่อมาเป็นองค์ประกอบที่น่าสนใจ ก็เลยต้องใช้ฟิลเตอร์ CPL ตัดแสงสะท้อนกับผิวน้ำ
3. ฟิลเตอร์ CPL ลดแสงสะท้อนบนวัตถุเปียก
(ภาพนี้ สังเกตว่ามีแสงกระทบ จนก้อนหินเปียก ๆ มีความแวววาว)
(ภาพนี้ ใช้ฟิลเตอร์ CPL ลดการสะท้อนของแสงที่ส่องกระทบก้อนหิน)
ใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพน้ำตก มักเห็นว่าก้อนหินเปียก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ น้ำตก จนถูกแสงสะท้อนจนดูแวววาว ซึ่งหากมีมากก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำลายความสวยงามของภาพถ่ายได้ จึงต้องใช้ฟิลเตอร์ CPL ช่วยลดแสงสะท้อนและเก็บรายละเอียดบนก้อนหินได้มากกว่า เพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ แต่ต้องค่อยๆ หมุนฟิลเตอร์ให้สมดุลกับสิ่งอื่นในภาพนะ
4. ฟิลเตอร์ ND ครึ่งซีก ถ่ายภาพสถานที่ที่สภาพแสง contrast กัน
ภาพด้านซ้ายไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์ ND ครึ่งซีก ส่วนภาพด้านขวาใช้ฟิลเตอร์ ND ครึ่งซีก 3 stop เพื่อลดความสว่างจ้าของท้องฟ้า
เมื่อถ่ายภาพ Landscape ตอนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก มักมีความ contrast มากระหว่างท้องฟ้าและฉากหน้า ทำให้วัดแสงลำบากในการถ่ายภาพเพียงครั้งเดียว หากอยากเก็บรายละเอียดในภาพได้ครบทั้งฉากหน้าและฉากหลัง อาจต้องถ่ายหลายครั้งโดยวัดแสงบ่อย ๆ
หากใช้ฟิลเตอร์ ND ครึ่งซีกจะช่วยลด dynamic range ในภาพได้ ถ้าท้องฟ้ามืดกว่าฉากหน้า ให้ลองใช้ฟิลเตอร์ ND 2 stop โดยจัดตำแหน่งซีกที่เป็นสีเข้มไว้ท่ี่ท้องฟ้า ส่วนความเข้มของแต่ละ stop ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในตอนนั้น ๆ
5.ฟิลเตอร์ ND ตัวช่วยให้ได้สายน้ำฟุ้งๆ
(ฟิลเตอร์ ND 3 stop ช่วยให้ได้ถ่ายภาพสายน้ำที่ดูคล้ายกับมีการเคลื่อนไหวได้)
สายน้ำอาจธรรมดาเกินไป หากยกกล้องขึ้นเล็งถ่ายภาพเลย แต่หากใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ สายน้ำจะดูนุ่มนวลและสงบ ใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ ก็จะเก็บภาพสายน้ำที่กระทบตลิ่งได้ทัน ให้อารมณ์ไปอีกแบบ แต่สปีดชัตเตอร์มีผลต่อแสงที่จะผ่านเข้ามาหน้าเลนส์ ดังนั้นการใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ ก็อาจทำให้ภาพสว่างจ้าได้ จึงต้องใช้ฟิลเตอร์ ND ลดปริมาณแสง และค่อยปรับสปีดชัตเตอร์ตามต้องการ
การใช้ฟิลเตอร์ ND 3 stop ก็เพียงพอในการทำให้น้ำตกเป็นเส้นสายชวนน่ามอง หากไปถ่ายทะเล อาจต้องใช้ฟิลเตอร์สัก 4-5 stop การใช้ฟิลเตอร์ถึง 10stop จะช่วยให้ใช้สปีดชัตเตอร์ได้นานถึงนาทีหรือมากกว่านั้น ช่วยให้คลื่นดูสงบราบเรียบ
(ภาพนี้ใช้ฟิลเตอร์ ND 10stop เพื่อให้ใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ได้ถึง 2 นาที เพื่อให้สายน้ำดูนุ่มนวล)
6. ฟิลเตอร์ ND ตัวช่วยให้ได้ก้อนเมฆฟุ้งๆ
(ภาพนี้ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์ ND และไม่ได้ใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ก้อนเมฆจึงเหมือนกับที่เรามองด้วยตาเปล่า)
(เมื่อใช้ฟิลเตอร์ ND 10stop และเปิดสปีดชัตเตอร์นานถึง 60 วินาที ก้อนเมฆจะดูคล้ายมีการเคลื่อนไหว)
ในการถ่ายภาพ Landscape เรามักโฟกัสก้อนเมฆเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเป็นองค์ประกอบหลักที่ ช่วยเพิ่มความชัดลึกและ dramatic ฉากหลังจึงน่าสนใจ หากถ่ายก้อนเมฆให้เบลอ ๆ และดูมีการเคลื่อนไหว ต้องใช้ฟิลเตอร์ ND เข้ม ๆ เช่น 10 stop เพื่อใช้สปีดชัตเตอร์ได้ช้า ๆ แต่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆด้วย ยิ่งใช้สปีดชัตเตอร์นาน ก็ยิ่งดูมีการเคลื่อนไหวมาก การใช้สปีดชัตเตอร์ตั้งแต่ 30 วินาที - 1 นาที เช่นภาพด้านบน จะเห็นก้อนเมฆเบลอ ๆ การใช้สปีดชัตเตอร์ 2- 3 นาที จึงแทบจะไม่เหลือเค้าเดิมของก้อนเมฆเลย
ที่มาที่มา
digital-photography-school.com