Thailand English
 
Thailand English

 

 

เคล็ดลับการตั้งค่า Shutter Speed

 

ในการถ่ายภาพความสัมพันธ์ระหว่างสปีดชัตเตอร์ ISO และค่ารูรับแสงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทั้งสามอย่างนี้ล้วนสัมพันธ์กัน บางครั้งการตั้งค่าให้ถูกต้องเพื่อให้ได้ภาพสวยๆ อาจเป็นเรื่องยาก และควรระวังการตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ผิดจนทำลายความสวยงามของภาพ วันนี้เรามีเคล็ดลับการควบคุม
สปีดชัตเตอร์ในแต่ละสถานการณ์มาฝากกัน

 

 

1. ถ่ายแล้วเบลอมาก

 

 

ในการถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ให้ออกมาไม่เบลอเกินไป ก่อนถ่ายควรตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวแบบ เพราะถ้าตัวแบบเคลื่อนที่เร็วเกินกว่าที่กล้องจะจับภาพทัน ก็ทำให้หลุดโฟกัสและภาพเบลอนั่นเอง แต่ตัวแบบแต่ละตัวมีความเร็วในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่าง ถ้าถ่ายรถยนต์ซึ่งเคลื่อนที่เร็ว ให้ใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว 1/1000 วินาที ส่วนคนที่กำลังเดินอยู่ย่อมเคลื่อนที่ช้ากว่ารถ จึงต้องลดสปีดชัตเตอร์ให้เหลือแค่ 1/250 วินาที

 

 

2. ภาพนิ่งเกินไป

 

 

ถ้าต้องการจับภาพตัวแบบและฉากหลังในภาพให้เหมือนมีการเคลื่อนไหวอยู่ เช่น รถแข่งหรือนักวิ่ง แต่กลับไปใช้สปีดชัตเตอร์เร็วเหมือนในข้อแรก ก็จะทำให้ได้ภาพที่ตัวแบบคมชัดและนิ่งสนิทเกินไป ดังนั้นจึงต้องลดสปีดชัตเตอร์ลง 

นอกจากการใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ แล้ว ต้องใช้อีกเทคนิคช่วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้ตัวแบบนิ่งสนิทและไม่มีการเคลื่อนไหวเลย นั่นคือเทคนิคการ panning การแพนกล้องตามทิศทางที่ตัวแบบกำลังเคลื่อนที่ แล้วเปลี่ยนใช้สปีดชัตเตอร์กลาง ๆ แทน

 

 

3. ตัวแบบช้าเกินไป

ตัวแบบมีการเคลื่อนไหวที่ไม่มากจนทำให้ตัวมันเองเบลอได้ จะทำให้การตั้งค่าสปีดชัตเตอร์เป็นเรื่องท้าทาย ถ้าเราต้องการตัวแบบที่เคลื่อนไหวอยู่ให้เป็นเส้นสาย ขณะที่ฉากหลังคมชัด ให้ตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องนิ่ง เช่น การถ่ายแสงไฟรถยนต์หรือถ่ายดาวให้เป็นเส้นสาย แต่ถ้าเพิ่มสปีดชัตเตอร์เร็วๆ ตัวแบบก็จะคมชัด ขึ้นอยู่กับว่าต้องการภาพแบบไหน

 

 

 

4. ภาพสว่างเกินไป (Overexposure)

การใช้สปีดชัตเตอร์ช้าเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาพสว่างจ้า เพราะแสงจะเข้ามาในเลนส์และโดนเซ็นเซอร์ของกล้องได้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อปรับสปีดชัตเตอร์ช้าก็ควรระวังผลลัพธ์อื่น ๆที่จะเกิดในภาพด้วย 

ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเมื่อได้ภาพที่สว่างจ้าเกินไป คือการเพิ่มสปีดชัตเตอร์ให้เร็วขึ้นเพื่อให้แสงเข้ามาน้อยลง แล้วไปลดค่า ISO ปรับค่ารูรับแสงให้แคบ และใช้โหมดวัดแสงเอง แต่บางสถานการณ์อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ได้ เพราะต้องการให้แสงเข้ามาในภาพมาก เช่น เวลาถ่ายในที่แสงน้อย ถ่ายท้องฟ้าและถ่ายตอนกลางคืน

 

 

5. มีรอยดำอยู่ในภาพถ่าย

 

 

การใช้แฟลชกับสปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ ควบคู่กัน มักให้ภาพที่ไม่สวยงาม เนื่องจากเวลาปล่อยแฟลชออกไป ใช้สปีดชัตเตอร์เร็วๆ ม่านชัตเตอร์จะยังปิดไม่สนิทดีนัก ดังนั้นกล้องจึงจับภาพโดยที่มีรอยดำในภาพด้วย 

ทางแก้ให้ใช้ high-speed flash sync คือการถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงให้สัมพันธ์กับแฟลช ซึ่งทำให้รู้ว่าควรใช้สปีดชัตเตอร์เร็วที่สุดแค่ไหนถึงจะพอดีกับการใช้แฟลช แต่โหมดนี้มีในกล้อง DSLR ระดับกลางและสูง ถ้าไม่มีโหมดนี้ก็ต้องลองลดสปีดชัตเตอร์ให้ช้าลงแทน

 

 

6. อย่าให้การเล่นสปีดชัตเตอร์เป็นจุดอ่อน

การใช้สปีดชัตเตอร์ผิดๆ นั้นเกิดขึ้นได้ง่ายมาก และทำให้เป็นจุดอ่อนในการถ่ายภาพได้ ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า ISO รูรับแสงและสปีดชัตเตอร์ เมื่อเปลี่ยนการตั้งค่าอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ จะส่งผลต่อการตั้งค่าอีกอย่าง ดังนั้นควรตั้งค่ากล้องหลาย ๆ อย่างให้สัมพันธ์กันและเหมาะสมกับภาพถ่ายที่ต้องการถ่าย

 

ที่มา contrastly.com

Back to top