Thailand English
 
Thailand English

 

 

7 เคล็ดลับการถ่ายภาพ Sport Photography

 

การถ่ายภาพตัวแบบที่มีการเคลื่อนที่เร็ว ๆ อย่างเช่น นักกีฬาที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเคร่ื่องบิน เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของช่างภาพ เนื่องจากมีเวลาให้คิดและถ่ายสั้นมาก จึงจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างที่ถ่ายภาพไม่ได้ บทความนี้มีเคล็ดลับที่ช่วยให้จับภาพโมเมนต์ดี ๆ ของการแข่งขัน และไปใช้ปรับปรุงการถ่ายภาพของคุณให้ดีขึ้นได้

 

 

 

1. การโฟกัส

 

ส่วนใหญ่กล้อง DSLR จะมีฟีเจอร์โฟกัสต่อเนื่อง ที่เรียกว่า AI Servo หรือ Continuous AF ช่วยโฟกัสติดตามวัตถุที่มีการเคลือนที่ ในการถ่ายภาพควรกดชัตเตอร์ค้างไว้ ให้จุดโฟกัสอยู่ตรงกลางวัตถุ และมองผ่านช่องมองภาพ กล้องจะปรับโฟกัสอัตโนมัติ จากนั้นเปลี่ยนเป็นโหมด burst จากที่ถ่ายช็อตเดียวเป็น continuous high speed ซึ่งเพิ่มจำนวนภาพถ่ายต่อวินาทีได้มากขึ้น

 

 

 


2. เลนส์

 

ในการถ่ายภาพกีฬาควรใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมาก ๆ คือระยะเลนส์ระหว่าง 70-300 mm ซึ่งช่วยเก็บภาพสนามกีฬาอันกว้างใหญ่ได้จากที่นั่งของคุณ !! และสามารถถ่ายภาพตัวแบบที่อยู่ไกล ๆ ได้ แต่ถ้าอยากลองเปลี่ยนมุมมองก็ให้ยืนถ่ายบนม้านั่งใกล้รั้วสนาม

 

 

 


3. สปีดชัตเตอร์

 

เมื่อต้องการถ่ายภาพการเคลื่อนที่เร็ว ๆ ให้นิ่งสนิทและมีความคมชัด จะต้องปรับ
สปีดชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น ให้ลองใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 1/500 แต่หากใช้สปีดชัตเตอร์ถึง 1/1000 จะช่วยให้เห็นโมเมนต์สำคัญ ๆ ที่ตาเปล่าจับภาพไม่ทันได้
แต่การใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ ต้องคำนึงถึงค่ารับแสงด้วย เนื่องจากม่านชัตเตอร์จะเปิดและปิดอย่างรวดเร็ว แสงจึงผ่านเข้ามาที่เซ็นเซอร์ได้น้อย และทำให้ภาพมืดได้ ดังนั้นควรเพิ่มค่า ISO และใช้รูรับแสงประมาณ f4 ถึงจะได้ภาพที่สภาพแสงพอดี

 

 

 

 

4. ความชัดลึก-ชัดตื้นของภาพ

 

สังเกตได้ว่าตามหน้าข่าวกีฬามักมีภาพที่ถ่ายให้เห็นตัวผู้เล่นคมชัด แต่ผู้ชมด้านหลังเบลอ นั่นเกิดจากการใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของนักกีฬาให้นิ่งสนิท ควบคู่กับการใช้เลนส์
ไวแสง f2.8 และตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุด แค่นี้ก็จะได้ภาพฉากหลังที่เบลอ ซึ่งดึงดูดความสนใจไปที่ตัวผู้เล่นได้มากขึ้น

 

 

 

5. ปรับ ISO

 

ถ้ากำลังถ่ายภาพกีฬา อย่างที่ได้กล่าวไปว่า ควรใช้สปีดชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/500 เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุเบลอ และปรับค่า f2.8 ซึ่งมีผลทำให้ภาพถ่ายมืดแน่นอน ดังนั้นจึงต้องปรับ ISO สูงๆ ให้แสงเข้ามายังกล้องได้มากขึ้น ถ้าถ่ายไปแล้วภาพยังคงมืดอีก ก็ปรับ ISO ให้สูงขึ้นอีก

 

 

 

 

6. Raw หรือ JPEG

 

ช่างภาพส่วนใหญ่มักตั้งค่าเป็นไฟล์ Raw เพื่อคุณภาพของภาพถ่าย และสามารถนำไปแต่งเพิ่มเติมภายหลังได้ดีกว่าไฟล์ JPEG แต่ข้อเสียคือไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่ ถ้าถ่ายด้วยเมมโมรี่การ์ดที่ความจุน้อย เมมโมรี่การ์ดอาจเต็มเร็วได้ ให้ลองเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น Large/ Fine Jpeg ซึ่งได้จำนวนภาพมากกว่า และไฟล์มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ไม่ต้องพลาดโมเมนต์สำคัญๆ

 

 

 

 

7. กฎสามส่วน

 

เมื่อมองผ่านช่องมองภาพจะเห็นเส้นจุดตัดเก้าช่องทำให้รู้ว่าตรงไหนคือกลางเฟรมภาพ ช่วยให้จัดองค์ประกอบภาพง่ายขึ้น ยิ่งจัดวางตัวแบบให้อยู่กลางของจุดตัดเก้าช่อง ก็ยิ่งมีโอกาสได้ภาพถ่ายสวยๆ

 

ลองจัดองค์ประกอบภาพตามภาพด้านบนก็ได้ โดยโฟกัสเล่นกับสายตานักกีฬาที่มองออกนอกเฟรมภาพ เพื่อจุดประกายให้ผู้ชมภาพเกิดความสงสัยว่านอกเฟรมภาพมีอะไร และเดาต่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดอีกบ้าง

 

 

 

 

ที่มา expertphotography.com

Back to top