Thailand English
 
Thailand English

 

 

5 เทคนิคจัดองค์ประกอบภาพสุดคูลที่ช่างภาพต้องรู้

การจัดองค์ประกอบภาพถือเป็นแก่นแท้ของภาพที่ดี หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการจัดองค์ประกอบภาพอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลากหลายเทคนิคมากครับ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับรูปภาพของเราได้ ในบทความนี้เรานำ 5 เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่จะทำให้การถ่ายภาพของคุณก้าวขึ้นไปอีกขั้น มาฝากกันครับ

Grey Dream cr. geir tønnessen

The Silent cr. Miguel Virkkunen Carvalho

1. ที่ว่างเชิงลบ

จุดประสงค์หลักของเทคนิคข้อนี้ คือ การวางวัตถุหรือตัวแบบไว้ในพื้นหลังโล่งๆและทำให้ตัวแบบนั้นเด่นออกมาจากพื้นหลัง บางภาพเราอาจมั่นใจว่าตัวแบบเราเด่นมาก แต่ภาพที่ได้คือตัวแบบถูกทำให้ไม่เด่นโดยองค์ประกอบต่างๆ ที่เราใส่เข้าไปในเฟรมภาพดังนั้นเทคนิคที่ว่างเชิงลบจึงเข้ามามีบทบาทในครั้งนี้ครับ

เทคนิคนี้เราจะทำให้วัตถุหรือตัวแบบเด่นขึ้นมา ด้วยวางตัวแบบไว้ที่พื้นหลังหรือ background โล่งๆ คลีนๆ เช่น ท้องฟ้า ๆ จะทำให้วัตถุนั้นดูเด่นและเป็นจุดสนใจขึ้นมาทันทีครับ แต่ก็จะมีสิ่งที่ควรระวัง เช่น ถ้าวัตถุชิ้นเล็กเกินไปและนำไปวางในเฟรมภาพ ก็อาจจะโดนพื้นที่ว่างกลบเอาได้ หรือถ้าวัตถุใหญ่เกินไป ก็จะไปกลบพื้นที่ว่างได้นั่นเองครับ

Across the sky cr. XoMEoX

Oggi al mare si stava bene… cr. Francesco Zaia

Wall with single window cr. Paulo Valdivieso

 

2. เส้นนำสายตา

เส้นนำสายตา หรือ Leading lines ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ภาพดูมีพลัง และน่าสนใจมากครับ ถือว่าเป็นเทคนิคที่ทุกการถ่ายภาพไม่ว่าจะแนวไหนก็ใช้กันทั้งนั้น อาจจะจัดให้เส้นนำสายตาของภาพเป็น perspective ไปบรรจบกันที่จุดตัดของภาพ หรือใช้เส้นนำสายตาเป็นเส้นนำทางไปสู่ตัวแบบหรือวัตถุ และใช้เป็นเส้นนำทางตัดผ่านทั้งรูปภาพครับ เส้นนำสายตานี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงอย่างเดียว อาจเป็นเส้นโค้ง คดเคี้ยว ซิกแซ็ก ก็ได้ ขึ้นอยู่กับโลเกชั่นและการวางมุมกล้องของช่างภาพครับ

Smoking, Dublin street photography - Dublin, Ireland cr. Giuseppe Milo

Bargoed, south Wales cr. Jeremy Segrott

The Getty - Interior cr. Ian D. Keating

 

3. สัดส่วนทองคำ

หลายๆคนจะยังไม่เข้าใจหลักการของเทคนิคครับ มันอาจดูเป็นเรื่องของหลักการทางคณิตศาสตร์มากเกินไป และดูซับซ้อนกว่ากฎสามส่วน แต่จริงๆแล้ว ง่ายมากๆครับ โดยหลักการก็คือ ต้องจินตนาการเส้นขึ้นมา 1 เส้น ตามตัวอย่างด้านล่างเลย ให้ลากยาวจากส่วนหนึ่งของเฟรมภาพ ขดเป็นเกลียวเหมือนก้นหอยและวางวัตถุหรือตัวแบบไว้ตรงก้นหอยนั้น จะทำให้ภาพน่าสนใจและสมดุลมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

By Jason Row Photography

Cr. https://photographyicon.com/goldenratio/

Cr. https://photographyicon.com/goldenratio/

 

4. ตีกรอบเฟรมภาพ

การใช้สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นหรือสิ่งก่อสร้างจากมนุษย์มาเป็นเฟรมภาพตีกรอบตัวแบบซักครั้ง ก็น่าสนใจนะครับ ไม่ว่าจะเป็นปากทางเข้าถ้ำ หน้าต่างบ้าน หรือแม้แต่กิ่งไม้ ก็สามารถเป็นเฟรมภาพได้ทั้งนั้นครับ หลักๆเลยก็คือเทคนิคนี้จะทำให้ความน่าสนใจของภาพจะถูกโฟกัสไปที่ตัววัตถุที่อยู่ในภาพโดยตรงครับ

Frame cr. Paul van de Velde

Framed cr. Jerry Huddleston

Framed cr. Kristina D.C. Hoeppner

Framed cr. Petteri Sulonen

 

5. ความสัมพันธ์กันของวัตถุ

เทคนิคนี้เหมือนเป็นการนำเทคนิคพื้นฐานมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็น กฎสามส่วน เส้นนำสายตา พื้นที่ว่างเชิงลบ หรือความเรียบง่าย ล้วนแล้วแต่เป็นตัวช่วยชั้นเยี่ยมในการเล่าเรื่องให้วัตถุมีความสัมพันธ์กันครับ

เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจครับ มันคุ้มค่ามากนะครับ ถ้าเราจะจัดวางวัตถุตั้งแต่ 2 ชิ้นที่ไม่สามารถพูดหรือเล่าเรื่องราวด้วยตัวเองได้ ให้มาอยู่ในภาพเดียวกัน และเล่าให้คนดูทราบถึงเรื่องราวหรือตีความหมายของวัตถุ 2 ชิ้นนี้ครับ

fire hydrant and runner cr. Thomas Leth-Olsen

Cr. rawpixel

Wall Rectangular Things Composition cr. Joost Markerink

Standing cr. Petras Gagilas

 

สรุปก็คือ ในภาพหนึ่งภาพ ไม่จำเป็นต้องมีแค่ 1 เทคนิคที่เราใช้ถ่ายครับ สำหรับมือใหม่อาจจะลองแค่ 1-2 เทคนิคก่อน แต่ถ้ามีโอกาสได้ถ่ายรูปครั้งต่อๆไป ลองค่อยๆเพิ่มเทคนิคเข้าไป เพื่อภาพที่น่าสนใจและเล่าเรื่องราวได้ในตัวภาพเองนะครับ

Cr. Markus Lompa

Cr. Oliver Cole

 

Concrete Jungle cr. Thirdblade Photography

Setting Sun In Istanbul Cr. Miguel Virkkunen Carvalho

via citiesatdawn.comcamerajabber.comlightstalking.complanq-studio.comlightstalking.com

 

Back to top